Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Factors influencing blood donation decision of generation Y in Bangkok during COVID-19 situation

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

ปชาณัฏฐ์ นันไทยทวีกุล

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.560

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ การรับรู้ ทัศนคติ แรงจูงใจ ความกังวลต่อการระบาดของโรคโควิด-19 พฤติกรรมการใช้สื่อ และการตัดสินใจบริจาคโลหิตของประชากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในกรุงเทพมหานคร ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และเพื่อหาความสัมพันธ์ของระดับความรู้ การรับรู้ ทัศนคติ แรงจูงใจ ความกังวลต่อการระบาดของโรคโควิด-19 และพฤติกรรมการใช้สื่อเกี่ยวกับการบริจาคโลหิตที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจบริจาคโลหิต กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรในกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 120 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 8 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการบริจาคโลหิต 3) แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับการบริจาคโลหิต 4) แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการบริจาคโลหิต 5) แบบสอบถามแรงจูงใจเกี่ยวกับการบริจาคโลหิต 6) แบบสอบถามความกังวลต่อการระบาดของโรคโควิด-19 7) แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้สื่อ 8) แบบสอบถามการตัดสินใจบริจาคโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าไค-สแควร์ (Chi – Square Test : - Test) และวัดระดับความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Cramer’s V ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง, การรับรู้อยู่ในระดับสูง, ทัศนคติอยู่ในระดับสูง, แรงจูงใจอยู่ในระดับสูง, ความกังวลต่อการระบาดของโรคโควิด-19 อยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการใช้สื่ออยู่ในระดับต่ำ มีรูปแบบการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และการตัดสินใจบริจาคโลหิตของประชากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในกรุงเทพมหานคร ส่วนมากตัดสินใจไม่บริจาคโลหิต ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 2) จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้ ทัศนคติ แรงจูงใจ ความกังวลต่อการระบาดของโรคโควิด-19 และพฤติกรรมการใช้สื่อกับการตัดสินใจบริจาคโลหิต พบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจบริจาคโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (= 23.079, p = 0.000) การรับรู้มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจบริจาคโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (= 4.532, p = 0.033) ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจบริจาคโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (= 15.807, p = 0.000) แรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจบริจาคโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (= 10.576, p = 0.001) ความกังวลต่อการระบาดของโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจบริจาคโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (= 13.426, p = 0.001) และพฤติกรรมการใช้สื่อ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจบริจาคโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (= 4.766, p = 0.029) ดังนั้น ควรมีการให้ความรู้ที่ถูกต้องในการบริจาคโลหิต ส่งเสริมการรับรู้ ทัศนคติที่ดี และการสร้างแรงจูงใจกับประชากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในช่องทางการสื่อสารออนไลน์เพื่อการตัดสินใจบริจาคโลหิตที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This study used a survey research. The objectives of this study were to study the level of knowledge, perception, attitude, motivation, concern about the COVID-19 situation, media behavior and Blood donation decision of Generation Y during COVID-19 situation and determine the correlation of knowledge level, perception level, attitude level, motivation level, concern about the COVID-19 situation level, media behavior level which related to the Blood donation decision. The sample was 150 Generation Y in Bangkok. The research tools consisted of 8 parts 1) Questionnaire as a tool for data collection 2) Questionnaire as a tool for knowledge 3) Questionnaire as a tool for perception 4) Questionnaire as a tool for attitude 5) Questionnaire as a tool for motivation 6) Questionnaire as a tool for concern about the COVID-19 situation 7) Questionnaire as a tool for media behavior 8) Questionnaire as a tool for Blood donation decision. Data were analyzed using statistic including frequency, percentage, mean, standard deviation and determine the correlation were analyzed using statistic Pearson’s Product Moment Coefficient The results of the research could be concluded as follows:2) Knowledge was relationship with Blood donation decision (= 23.079, p = 0.000), perception was relationship with Blood donation decision (= 4.532, p = 0.033), attitude was relationship with Blood donation decision (= 15.807, p = 0.000), motivation was relationship with Blood donation decision (= 10.576, p = 0.001), concern about the COVID-19 situation was relationship with Blood donation decision (= 13.426, p = 0.001) and media behavior was relationship with Blood donation decision (= 4.766, p = 0.029) The recommendation from the research were there should be more education about blood donation to reinforce perceptions, positive attitudes and motivation for Generation Y in social media platforms.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.