Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Social functioning and associated social skills in patients with depressive disorder in psychiatric outpatients, King Chulalongkorn Memorial hospital

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Psychiatry (ภาควิชาจิตเวชศาสตร์)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สุขภาพจิต

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.1259

Abstract

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาหน้าที่ทางสังคม ทักษะทางสังคมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ทางสังคมของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับการรักษา แผนกผู้ป่วยนอก จิตเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับการรักษา แผนกผู้ป่วยนอก จิตเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 150 ราย ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัย DSM-5 ของโรคซึมเศร้าหลัก หรือโรคซึมเศร้าเรื้อรัง หรือโรคซึมเศร้าสองชนิดทับซ้อนกัน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง ธันวาคม 2563 โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม 5 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินอาการซึมเศร้าฉบับภาษาไทย 3) แบบวัดทักษะทางสังคม 4) มาตรวัดการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกของผู้อื่น และ 5) แบบประเมินหน้าที่ทางสังคมฉบับภาษาไทย และผู้วิจัยกรอกแบบกรอกข้อมูลทางการแพทย์ ทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ทางสังคมและทักษะทางสังคมของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ และทำการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายความบกพร่องของหน้าที่ทางสังคม โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่ (ร้อยละ 65.3) มีความบกพร่องของหน้าที่ทางสังคม โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยของหน้าที่ทางสังคมเท่ากับ 11.37±4.14 ส่วนใหญ่มีทักษะทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความบกพร่องของหน้าที่ทางสังคม ได้แก่ การมีระดับทักษะทางสังคมต่ำมาก ถึง ต่ำ (p < 0.01) การมีโรคประจำตัวทางกาย (p < 0.05) การใช้สารเสพติด (p < 0.05) และความรุนแรงของโรคซึมเศร้าในระดับรุนแรง (p < 0.01) ปัจจัยทำนายความบกพร่องของหน้าที่ทางสังคมของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับการรักษา แผนกผู้ป่วยนอก จิตเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ ได้แก่ การมีโรคประจำตัวทางกาย (p < 0.01) ความรุนแรงของโรคซึมเศร้าในระดับรุนแรง (p < 0.01) และการมีระดับทักษะทางสังคมต่ำมาก ถึง ต่ำ (p < 0.01) สรุปผลการศึกษา : ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่ (ร้อยละ 65.3) มีความบกพร่องของหน้าที่ทางสังคม และส่วนใหญ่มีทักษะทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง มีการรับรู้ความรู้สึกผู้อื่นในระดับสูง และพบว่าการมีโรคประจำตัวทางกาย ความรุนแรงของโรคซึมเศร้าในระดับรุนแรง และการมีระดับทักษะทางสังคมต่ำมาก ถึง ต่ำ เป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความบกพร่องของหน้าที่ทางสังคมของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Objective : To study social functioning, social skills, and associated factors of patients with depressive disorders in Psychiatric Outpatient Department, King Chulalongkorn Memorial Hospital Method : The study design was a descriptive study. One hundred and fifty patients aged above 18 years old, diagnosed as major depressive disorder, persistent depressive disorder or dysthymia, and double depression using the Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorder 5th edition (DSM-5) criteria from Psychiatric Outpatient Department, King Chulalongkorn Memorial Hospital, were recruited into the study during June to December 2020. The participants completed five questionnaires: 1) Demographic data form, 2) Beck Depression Inventory-II (BDI-II) - Thai Version, 3) Social Skills Inventory, 4) Interpersonal Reactivity Index, 5) Social Functioning Questionnaires (SFQ) – Thai Version, and the investigator completed the medical record form. The association between social skills and associated factors and impaired social functioning was analyzed by chi-square test. Logistic regression was performed to identify the predictors of the impaired social functioning. A p-value of less than 0.05 was considered statistically significant. Results : Most of patients with depressive disorders (65.3%) had impaired social functioning with the average score of social functioning as 11.37±4.14. Most of them had moderate level of social skills. The associated factors of impaired social functioning were very low-to-low level of social skills (p < 0.01), having the physical illnesses (p < 0.05), having the substance use (p < 0.05), and severe level of depression (p < 0.01). The predictors of impaired social functioning were having a physical illness (p < 0.01), severe depression (p<0.01), and very low to low of social skills (p < 0.01). Conclusion : Most of the patients with depressive disorders (65.3%) had impaired social functioning. Most of them had moderate level of social skills. Having physical illnesses, having a substance used, very low-to-low level of social skills and severe depression were associated with the patients' impaired social functioning.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.