Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of exercise program with hopscotch on health-related physical fitness and quality of life in overweight children

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์

Faculty/College

Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.1020

Abstract

ภาวะน้ำหนักเกินในเด็กเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างรวดเร็วซึ่งทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ปัญหาดังกล่าวจะส่งผลต่อการมีสุขสมรรถนะและคุณภาพชีวิตที่ลดลง ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางตั้งเตที่มีต่อสุขสมรรถนะและคุณภาพชีวิตในเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (มากกว่า +2 S.D. ถึง +3 S.D.) อายุระหว่าง 10-12 ปี จำนวน 38 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 19 คน กลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางตั้งเต 60 นาทีต่อครั้ง 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ก่อนและหลังการทดลองทำการทดสอบตัวแปรด้านสุขสมรรถนะและคุณภาพชีวิต (ฉบับของเด็กและฉบับของผู้ปกครอง) นำมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลอง ใช้การทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่มก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ใช้การทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางตั้งเตที่มีต่อสุขสมรรถนะเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายลดลง มวลน้ำหนักตัวไม่รวมไขมัน มวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและหายใจ และความอ่อนตัว เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยของมวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อและความอ่อนตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางตั้งเตที่มีต่อสุขสมรรถนะ ระหว่างกลุ่มกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยมวลน้ำหนักตัวไม่รวมไขมัน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนตัวแปรอื่นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางตั้งเตที่มีต่อคุณภาพชีวิตเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตฉบับของเด็กไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตฉบับของผู้ปกครองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางตั้งเตที่มีต่อคุณภาพชีวิต ระหว่างกลุ่มทั้งก่อนและหลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตฉบับของผู้ปกครองของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางตั้งเตสามารถเปลี่ยนแปลงสุขสมรรถนะ ได้แก่ ไขมันในร่างกาย มวลน้ำหนักตัวไม่รวมไขมัน มวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและหายใจ และความอ่อนตัว รวมทั้งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The number of children with overweight has continuously increased due to the rapid societal changes. These changes may lead to an increase in health risk factors resulting in lower health-related physical fitness and quality of life. Therefore, the purposes of this study were to examine and compare the effects of hopscotch exercise program on health-related physical fitness and quality of life in overweight children. Thirty-eight overweight children (over +2 S.D. to +3 S.D.), aged between 10 and 12 years, were divided into 2 groups: control group (n=19) and experimental group (n=19). The control group was asked to perform normal activities of daily living. The experimental group was asked to perform a hopscotch exercise program for 60 minutes per session, 3 days a week for 6 weeks. Health-related physical fitness and quality of life were assessed at baseline and after exercise program. Data were analyzed using paired t-test to determine the difference between pre-test and post-test and independent t-test to determine the difference between pre-test and post-test and between two groups. The finding revealed that: 1) After hopscotch exercise program, the body fat percentage was lower in the experimental group (p<0.05); moreover, the fat free mass, cardiorespiratory endurance, muscle mass, muscular strength, muscular endurance and flexibility were higher (p<0.05). Furthermore, the control group had higher muscle mass, muscular strength, muscular endurance and flexibility than pre-test. 2) The result of hopscotch exercise program on health-related physical fitness between two groups, The experimental group had higher in fat free mass than control group (p<0.05) but other variables were no difference between groups. 3) After the exercise program, the quality of life (children edition) of both groups was not changed. However, the quality of life (parent edition) was higher score than the baseline (p<0.05) in the experimental group. 4) The result of hopscotch exercise program on quality of life between two groups, both pre-test and post-test were no difference but experimental group had higher score in the quality of life (parent edition) than control group (p<0.05). The results of this research indicated that the hopscotch exercise program improved health-related physical fitness (i.e., body composition, muscular strength, muscular endurance, cardiorespiratory endurance and flexibility) and quality of life in overweight children.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.