Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of resistance training combined with blood flow restriction on marathon performance in middle aged runners

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

ดรุณวรรณ สุขสม

Faculty/College

Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.1012

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยแรงต้านร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดต่อความสามารถในการวิ่งมาราธอนในนักวิ่งวัยกลางคน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักวิ่งมาราธอนทั้งเพศชายและหญิง 30 คน อายุระหว่าง 35 ถึง 45 ปี แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มฝึกด้วยแรงต้านแบบใช้น้ำหนักตัว (กลุ่มใช้น้ำหนักตัว) กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มฝึกด้วยแรงต้านที่ระดับความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดที่ระดับแรงดันต่ำ (กลุ่มการจำกัดการไหลของเลือดต่ำ) และกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มฝึกด้วยแรงต้านที่ระดับความหนักต่ำร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดที่ระดับแรงดันสูง (กลุ่มการจำกัดการไหลของเลือดสูง) และทั้ง 3 กลุ่มได้รับการฝึกวิ่งตามโปรแกรม จำนวน 3 วันต่อสัปดาห์ และฝึกด้วยแรงต้านเฉพาะตามแต่ละกลุ่ม จำนวน 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปรก่อนการฝึกและหลังการฝึก 12 สัปดาห์ ได้แก่ 1) ตัวแปรด้านสรีรวิทยาทั่วไป; อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบและคลายตัว และองค์ประกอบของร่างกาย 2) ตัวแปรด้านสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ; ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ 3) ตัวแปรด้านสมรรถภาพทางแอโรบิก; ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด และระดับกั้นแอนแอโรบิก และ4) ตัวแปรด้านความสามารถในการวิ่ง; ระยะเวลาในการวิ่งมาราธอน และประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานขณะวิ่ง ทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ 3x2 (กลุ่ม x เวลา) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีแอลเอสดี ผลการวิจัย พบว่า เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนการฝึกและภายหลังการฝึก 12 สัปดาห์ กลุ่มฝึกทั้ง 3 กลุ่ม มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (วัดโดยความสามารถของการออกแรงสูงสุดในท่าสควอท) และความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้น และมีระยะเวลาในการวิ่งมาราธอนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มฝึกด้วยการจำกัดการไหลของเลือดทั้ง 2 กลุ่มมีความทนทานของกล้ามเนื้อ (วัดโดยความสามารถในการนั่ง – ยืน) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้กลุ่มการจำกัดการไหลของเลือดสูงมีค่าประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานขณะการวิ่ง, กำลังสูงสุดของกล้ามเนื้อต้นขาท่าเหยียด - งอเข่า ที่ความเร็ว 180o/วินาที และค่างานของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังท่างอเข่า เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพียงกลุ่มเดียว และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มการจำกัดการไหลของเลือดสูงมีระยะเวลาในการวิ่งระยะมาราธอนลดลง (14.57%) มากกว่ากลุ่มการจำกัดการไหลของเลือดต่ำ (5.80%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีแนวโน้มมากกว่ากลุ่มใช้น้ำหนักตัว (9.45%) สรุปผลการวิจัย พบว่า การฝึกด้วยแรงต้านแบบใช้น้ำหนักตัว การฝึกด้วยแรงต้านที่ระดับความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดที่ระดับแรงดันต่ำ และการฝึกด้วยแรงต้านที่ระดับความหนักต่ำร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดที่ระดับแรงดันสูง ส่งผลทำให้สมรรถภาพกล้ามเนื้อ สมรรถภาพทางแอโรบิก และความสามารถในการวิ่งมาราธอนดีขึ้น โดยการฝึกด้วยแรงต้านที่ระดับความหนักต่ำร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดที่ระดับแรงดันสูงมีประสิทธิภาพในการพัฒนาความสามารถในการวิ่งที่สูงกว่าการฝึกด้วยแรงต้านแบบใช้น้ำหนักตัวและการฝึกด้วยแรงต้านที่ระดับความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดที่ระดับแรงดันต่ำ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this study was to investigate the effects of resistance training (RT) combined with blood flow restriction (BFR) on marathon performance in middle-aged runners. Thirty male and female marathon runners (aged 35 to 45 years old) were divided into 3 groups: 1) the body-weight RT group (BwRT; n=10), 2) the high-intensity RT combined with low-pressure blood flow restriction (LowBFR; n=10), and the low-intensity RT combined with high-pressure blood flow restriction (HighBFR; n=10). All groups performed running training program for 3 days/week and each group specific RT for 2 days/week. After 12 weeks of training, the variables including 1) general physiological data; resting heart rate, systolic and diastolic blood pressure at rest, and body compositions 2) muscular function; muscle strength and endurance 3) aerobic fitness; maximum oxygen consumption (VO2max) and anaerobic threshold (AT) 4) marathon performance; marathon running time and running economy (RE) were measured. The 3x2 (groups x times) two ways ANOVA with repeated measures followed by LSD multiple comparison were used to determine significant difference among groups and times in all variables. The results of this study demonstrated that when compared between before and after 12 weeks of training, muscular strength (using 1RM squat test) and VO2max increased, while marathon times decreased significantly in all three groups (all p< .05). Both LowBFR and HighBFR groups had significantly increased in leg muscular endurance (using sit to stand test) (p< .05). Only HighBFR had significantly increased in knee extension – flexion peak torque at 180o/sec., knee flexion work at 180o/sec. and RE (p< .05). When compared among groups, HighBFR had significantly higher percentage of changes in lower duration of the marathon time (14.57%) than LowBFR (5.8%) significantly (p< 0.5) and tend to be higher than BwRT (9.45%). In conclusion, RT with body - weight, highRT combined with lowBFR and lowRT combined with highBFR trainings were effective in improving muscle function, aerobic fitness and marathon performance. LowRT combined with highBFR training appears to confer greater improvements in marathon performance than RT with body - weight and highRT combined with lowBFR trainings.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.