Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A Study Of Development Of Geography Curriculumfor Secondary Education
Year (A.D.)
2018
Document Type
Thesis
First Advisor
อัมพร ม้าคนอง
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Curriculum and Instruction (ภาควิชาหลักสูตรและการสอน)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
หลักสูตรและการสอน
DOI
10.58837/CHULA.THE.2018.1451
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา 2) ศึกษาพัฒนาการของการนำหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาไปใช้ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการนำหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาไปใช้ โดยศึกษาหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตั้งแต่หลักสูตร พ.ศ. 2503 ถึง พ.ศ. 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวิเคราะห์พัฒนาการหลักสูตร แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและครูผู้สอน และแบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. พัฒนาการของหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1.1 วัตถุประสงค์ หลักสูตร พ.ศ. 2503-2518 เป็นการเรียนเพื่อให้รู้จักธรรมชาติ หลักสูตร พ.ศ. 2521-2533 พัฒนาเพื่อให้นำความรู้ไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตได้ และต่อมาหลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 พัฒนาเป็นเพื่อให้เข้าใจมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม 1.2 โครงสร้าง/เวลา หลักสูตร พ.ศ. 2503-2518 เป็นหลักสูตรรายวิชา ต่อมาหลักสูตร พ.ศ. 2521-2533 บูรณาการเป็นวิชาสังคมศึกษา และหลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 เป็นสาระหนึ่งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ด้านเวลาในการจัดหลักสูตร ตั้งแต่หลักสูตร พ.ศ. 2503-2551 มีแนวโน้มลดลง 1.3 เนื้อหา หลักสูตร พ.ศ. 2503-2533 เน้นเรื่องกายภาพโลกและแผนที่ ต่อมาหลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 พัฒนาเป็นเรื่องปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ มนุษย์และสิ่งแวดล้อม 1.4 วิธีการจัดการเรียนรู้ หลักสูตร พ.ศ. 2503-2533 แนะนำวิธีสอนโดยใช้ภูมิภาคด้วยวิธีการบรรยาย ต่อมาหลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 เน้นกระบวนการสืบสอบและสร้างองค์ความรู้ 1.5 วัสดุหลักสูตร หลักสูตร พ.ศ. 2503-2551 ใช้เอกสารหลักสูตรเป็นหลัก 1.6 การประเมินผลหลักสูตร หลักสูตร พ.ศ. 2503-2533 เน้นการประเมินผลลัพธ์จากการใช้หลักสูตร ด้วยการรายงานผลการใช้หลักสูตรจากสถานศึกษา หลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 เป็นการประเมินผลลัพธ์จากการใช้หลักสูตร ด้วยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติเป็นหลัก 2. พัฒนาการของการนำหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาไปใช้ มี 7 ด้าน ได้แก่ 2.1 ด้านการเตรียมการสอน หลักสูตร พ.ศ. 2503-2533 ครูดำเนินการตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ต่อมาหลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 ครูศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาได้ 2.2 ด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ หลักสูตร พ.ศ. 2503-2518 จัดทำแผนฯ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด หลักสูตร พ.ศ. 2521-2533 ให้ครูเลือกใช้วิธีสอนตามความเหมาะสม และหลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 ครูออกแบบแผนการสอนเพื่อพัฒนานักเรียนตามตัวชี้วัด 2.3 ด้านการจัดกิจกรรมในห้องเรียน หลักสูตร พ.ศ. 2503-2518 ครูเป็นศูนย์กลาง หลักสูตร พ.ศ. 2521-2533 นักเรียนมีบทบาทมากขึ้น หลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 ใช้แนวคิดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง 2.4 ด้านวิธีการสอน หลักสูตร พ.ศ. 2503-2533 เน้นใช้การบรรยาย หลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเองด้วยวิธีสอนต่าง ๆ 2.5 ด้านเทคนิคการสอน หลักสูตร พ.ศ. 2503-2533 เน้นการใช้คำถาม กิจกรรมกลุ่ม ประกอบการบรรยาย และหลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 พัฒนาทักษะการคิดผ่านกระบวนการต่าง ๆ 2.6 ด้านสื่อ/นวัตกรรม/แหล่งเรียนรู้ หลักสูตร พ.ศ. 2503-2533 ใช้หนังสือเรียน แผนที่ และลูกโลกเป็นหลัก หลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 พัฒนาเป็นการใช้เทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ที่ทันสมัย ด้านแหล่งเรียนรู้ตั้งแต่หลักสูตร พ.ศ. 2503-2551 ยังคงเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ใกล้ตัวนักเรียน 2.7 ด้านการวัดและประเมินผล หลักสูตร พ.ศ. 2503-2533 เน้นการทดสอบเพื่อวัดความรู้เชิงเนื้อหา และหลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 ประเมินตามสภาพจริงเพื่อวัดทักษะการคิดเชิงภูมิศาสตร์ 3. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการนำหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาไปใช้ 3.1 ด้านการพัฒนาหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา ผู้พัฒนาหลักสูตรควรปฏิบัติ ดังนี้ 1) กำหนดวัตถุประสงค์ในแนวทางที่ให้อธิบายปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่ได้ด้วยการใช้กระบวนการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์จนเกิดทักษะทางภูมิศาสตร์ 2) บูรณาการเนื้อหาภูมิศาสตร์กับสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ 3) กำหนดเนื้อหาตามแนวโน้มสังคมโลก เรื่องสิ่งแวดล้อมและการจัดการ 4) ควรกำหนดการใช้กระบวนการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ 5) จัดทำคู่มือการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ 6) ประเมินผลลัพธ์ของการใช้หลักสูตรจากผลสัมฤทธิ์ทางสมรรถนะและทักษะทางภูมิศาสตร์ของนักเรียน และให้ประเมินกระบวนการใช้หลักสูตรของครูผู้ใช้หลักสูตรตามสภาพจริง 3.2 ด้านการนำหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาไปใช้ ครูผู้ใช้หลักสูตรควรปฏิบัติ ดังนี้ 1) ต้องศึกษาเนื้อหาภูมิศาสตร์เรื่องสิ่งแวดล้อม วิธีการสอนที่เน้นให้เกิดทักษะทางภูมิศาสตร์ และฝึกใช้สื่อเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ 2) จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดเรื่องการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ 3) สร้างกิจกรรม Active Learning ทางภูมิศาสตร์ 4) ใช้วิธีการสอนที่เน้นให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ 5) ใช้เทคนิคการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์ 6) ใช้สื่อนวัตกรรมทางภูมิศาสตร์ที่ทันสมัย และจัดกิจกรรมภาคสนามแหล่งเรียนรู้ 7) วัดและประเมินสมรรถนะ/ทักษะทางภูมิศาสตร์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ภูมิศาสตร์
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this research were to 1) explore the development of geography curriculum for secondary level. 2) explore the progress of implementation geography curriculum for secondary level. 3) present the way to develop curriculum and implementation of geography curriculum for secondary level by studying geography curriculum for secondary level that were indicated by Basic Education Core Curriculum — 8 curriculums; from lower secondary and higher secondary curriculum B.E. 2503 to Basic Education Core Curriculum B.E.2551. Data was collected through format analysis of development of geography curriculum, interview format for the expert at curriculum, interview format for teacher and observation format for geography teacher. Analyze data by content analysis. The research findings were as follow: 1. The development of geography curriculum for secondary level could divide into 5 aspects including 1.1 Objective: Curriculum B.E.2503-2518, we learnt for living and knowing nature but in Curriculum B.E.2521-2533 we learnt for understanding human and environment. We were also aware of environmental changing. 1.2 Structure/Time: We changed from subject matter curriculum in Curriculum B.E.2503-2518 to Social curriculum in Curriculum B.E.2521-2533. Curriculum B.E.2544-2551 is a strand in Social Study, religious and Culture Department. Time and structure in B.E.2503-2551 tended to be decreased. 1.3 Content: Adapted from physical geography and map in B.E. 2503-2533 to human and environment in B.E.2544-2551. 1.4 Learning management: Curriculum B.E.2503-2533 provided lecture method but in B.E.2544-2551 focused on the way that students constructed the body of knowledge themselves. 1.5 Curriculum material: We focused on the document every now and again from B.E.2503 to 2551. 1.6 Evaluation: in B.E. 2503-2533, we used to supervise how each school use curriculum but in B.E.2544-2551 we account the result from national test. 2. The development of implementation geography curriculum for secondary level could divide into 7 aspects including 2.1 Teaching preparation: in B.E. 2503-2533, teachers adapted from following Ministry of Education to developing school curriculum. In 2544-2551, teacher could analyze curriculum. 2.2 Planning lesson plan: In B.E. 2503-2518, teachers followed Ministry of Education while in B.E. 2521-2533 teachers selected teaching method themselves. In B.E. 2544-2551, teacher designed teaching method. 2.3 Creating classroom activity: In B.E. 2503-2518, we followed teacher-centered way but in B.E.2544-2551 we followed student-centered. 2.4 Teaching Method: In B.E. 2521-2533, lecture class was popular but in B.E. 2544-2551 learning by themselves using various methods is useful. 2.5 Teaching technique: In B.E. 2503-2533, we focused on using questions, group activity and lecture method but in B.E. 2544-2551 we developed through learning process which helped developing high-level thinking skill. 2.6 Media/innovation/resource: Using only book and globe were no longer suitable for student in B.E. 2503-2533. So, we adapted to use nearby resources in B.E. 2544-2551. 2.7 Evaluation and assessment: Adapted from content-based assessment in B.E. 2503-2533 to authentic assessment in B.E. 2544-2551. 3. The way to develop and implement geography curriculum; 3.1 The development of geography curriculum for secondary level The developer should follow these ways: 1) Specify objective by using geographical learning process. 2) Apply to other learning area in social and culture curriculum. 3) Specify content base on social trend. 4) Define geographical learning process as a teaching guideline. 5) Make guidebook for geographical technology. And 6) Assess Curriculum from the test result and geographical competency. Also assess using curriculum process of teachers after applying. 3.2 The development of implementation geography curriculum for secondary level Teacher should follow these ways: 1) Study geographical content in terms of environment and practice using geographical tool. 2) Do geographical lesson plan. 3) Create geographical active learning activity. 4) Use learning by doing method. 5) Use geographical learning process to develop geographical knowledge. 6) Use up-to-date media or innovation. and provide fieldtrip. 7) Use geographical process to evaluate skill and competency.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เข็มกลัด, ทัศน์ทอง, "การศึกษาพัฒนาการของหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 3582.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/3582