Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Strategies for enhancing the effectiveness of theses advisor's supervision customized to students in digital age
Year (A.D.)
2018
Document Type
Thesis
First Advisor
ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Second Advisor
ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Educational Research and Psychology (ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา)
Degree Name
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2018.1170
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ในยุคดิจิทัลของอาจารย์ที่ปรึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียน 2) เพื่อสร้างเครื่องมือวัดการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาและประสิทธิผลของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของผู้เรียนในยุคดิจิทัล 3) เพื่อวิเคราะห์สภาพของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน และ 4) เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการส่งเสริมกระบวนการการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคดิจิทัล ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก เป็นการวิเคราะห์กระบวนการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ในยุคดิจิทัลของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่สอง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลกับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาในยุคดิจิทัล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ความโด่ง ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบกลุ่มพหุ การวิเคราะห์กลุ่มแฝง และระยะที่สาม เป็นการสร้างกลยุทธ์ในการส่งเสริมการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคดิจิทัล โดยสัมภาษณ์นิสิตนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นรายคู่ จำนวน 7 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และนำกลยุทธ์ที่ได้ไปตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์กับผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ในยุคดิจิทัล เป็นการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ มาช่วยสนับสนุนในกระบวนการการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์เท่านั้น อาจารย์ที่ปรึกษาใช้วิธีการให้คำปรึกษาแบบผสมวิธีทั้งแบบตัวต่อตัวและกลุ่มนิสิตนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ในการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ตามขั้นตอนดังนี้ 1) การวิเคราะห์ผู้เรียน 2) การดำเนินการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ตามบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ประกอบด้วย การบริหารจัดการ การให้ความรู้ การให้ข้อมูลป้อนกลับ และการสนับสนุนทางด้านจิตใจ และ 3) การปรับวิธีการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน 2. เครื่องมือวัดการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาและประสิทธิผลของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของผู้เรียนในยุคดิจิทัลมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตรประมาณค่าที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพทั้งด้านความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.75 - 1.00 ด้านความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์อยู่ระหว่าง 0.892 - 0.893 และประสิทธิผลของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของผู้เรียนมีค่าเท่ากับ 0.951 3. การจัดกลุ่มแฝงนิสิตนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตามการใช้เทคโนโลยีในการให้คำปรึกษา สามารถจัดกลุ่มแฝงทั้งนิสิตนักศึกษาและกลุ่มแฝงของอาจารย์ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนิสิตนักศึกษาได้ 3 กลุ่มแฝง ได้แก่ กลุ่มแฝงที่ 1 คือ กลุ่มแฝงที่ใช้เทคโนโลยีในการจัดการเอกสารผ่านระบบออนไลน์ กลุ่มแฝงที่ 2 คือ กลุ่มแฝงที่ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายสังคมออนไลน์ และกลุ่มแฝงที่ 3 คือ กลุ่มแฝงที่ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานในชีวิตประจำวัน 4. กลยุทธ์ในการส่งเสริมกระบวนการการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ในยุคดิจิทัลของอาจารย์ที่ปรึกษา มีดังนี้ 1) การส่งเสริมให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์สามารถนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการให้คำปรึกษา 2) อาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิตต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือความเชื่อที่มีต่อกระบวนการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ในยุคดิจิทัล และ 3) ควรมีระบบประกันคุณภาพการให้คำปรึกษาตามบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The aims of this research are 1) to analyze the thesis supervision process for graduate students in digital age, 2) to create an instrument to assess advisors thesis supervision and the supervision effectiveness, 3) to analyze the state of advisors thesis supervision and the students outcomes, and 4) to develop strategies for enhancing advisors thesis supervision for students in digital age. In this 3-phase research, it started by the analysis of advisors thesis supervision in digital age. Interview data from ten productive advisors were analyzed by means of content analysis. In the second phase, data from 180 master and doctoral students were collected by questionnaires and analyzed by using descriptive statistics (mean, SD, skewness, kurtosis, and CV), Pearsons correlation, confirmatory factor analysis, multivariate analysis of variance (MANOVA), and latent class analysis. The last phase focused on developing a set of strategies for enhancing advisors thesis supervision for graduate students in digital age by interviewing 7 dyads of advisee-advisor. The proposed strategies were examined their suitability and feasibility by 3 experts. The key findings were as follows: 1. Advisors thesis supervision in digital age was to adopt technologies for supporting in thesis supervision process. Advisors used a blended method both one to one and group. There were three stages of advisors thesis supervision: 1) analyzing students 2) conducting thesis supervision which consists of administration, education, feedback, and emotional support and 3) adjusting the method of advisors thesis supervision to suit each student. 2. The instrument of advisors thesis supervision and the supervision effectiveness which consisted of checklists and rating scale was examined for validity (IOC was from 0.75 to 1.00) and internal consistency reliability (advisors' thesis supervision was from 0.892 to 0.893 and supervision effectiveness was 0.951). 3. Graduate students and thesis advisors can be classed into three classes: the first class that used technology to manage online documents, the second class that used social network technology, and the third class that used basic technology in daily life. 4. A set of strategies for enhancing advisors thesis supervision for graduate students in digital age were as follows: 1) Encouraging thesis advisors to adopt technologies in the thesis supervision process, 2) Advisors and students must change their paradigm or belief towards the theses supervision in digital age, and 3) There are quality assurance system for advisors thesis supervision according to the role of thesis advisor.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ทิพยกุลไพโรจน์, ดารุณี, "กลยุทธ์การส่งเสริมประสิทธิผลของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาที่ปรับให้เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคดิจิทัล" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 3301.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/3301