Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effect of swine bone powder on cadmium uptake by rice (oryza sativa l. Var khao dawk mali 105)
Year (A.D.)
2018
Document Type
Thesis
First Advisor
ธเรศ ศรีสถิตย์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
DOI
10.58837/CHULA.THE.2018.1163
Abstract
การศึกษาผลของผงกระดูกหมูในการยับยั้งการดูดดึงแคดเมียมที่ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ปลูกในดินปนเปื้อนจากพื้นที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก แบ่งการศึกษาออกเป็นสองส่วนได้แก่การศึกษาลักษณะทางกายภาพและเคมีของผงกระดูกหมูและการศึกษาประสิทธิภาพของผงกระดูกหมูในการยับยั้งการดูดดึงแคดเมียมของข้าวดอกมะลิ 105 การศึกษาโครงสร้างทางด้านกายภาพและเคมีของผงกระดูกหมู ประสิทธิภาพในการกำจัดแคดเมียมในสารละลาย รวมถึงการศึกษาไอโซเทอมการดูดซับ พบว่า โครงสร้างทางด้ายกายภาพและเคมีของผงกระดูกหมู มีลักษณะโครงสร้างเป็นแบบเฮกซาโกนัล มีแคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์ เป็นองค์ประกอบหลัก เมื่อศึกษาไอโซเทอมการดูดติดผิวในสารละลายแคดเมียมเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อลิตร เวลาสัมผัส 1 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพในการกำจัดแคดเมียมสูงสุด 22.12 มิลลิกรัมต่อกรัม ไอโซเทอมการดูดซับเป็นแบบแลงมัวร์ การศึกษาผลของการใช้ผงกระดูกหมูในการยับยั้งการดูดดึงแคดเมียมของข้าวดอกมะลิ 105 ทำการปลูกข้าวในกระถางที่มีการเติมผงกระดูกหมูที่ระดับอัตรา 0%, 5%, 10% และ15% ตามลำดับ ทดลองในสภาวะโรงเรือนทดลอง ทำการเพาะปลูก 2 ฤดูกาล ผลการทดลอง พบว่า ในฤดูกาลเพาะปลูกที่ 1 ข้าวเจริญเติบโตตามปกติ และออกรวงในทุกระดับความเข้มข้น ขณะที่ในฤดูกาลเพาะปลูกที่ 2 ข้าวเริ่มมีการเจริญเติบโตได้ค่อนข้างต่ำ และเจริญเติบโตได้เพียงในระยะ 4 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นเกิดอาการต้นเหลืองและยืนต้นตาย การสะสมแคดเมียมในส่วนต่างๆ พบว่า มีการสะสมในรากมากกว่าลำต้น ใบ เมล็ด และเปลือก ความสามารถในการดูดดึงแคดเมียม (%) ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 อยู่ในช่วง 0.18-0.20 % และ 0.41-1.18 % ทั้งในฤดูกาลเพาะปลูกที่ 1 และ 2 ตามลำดับ สำหรับค่าการสะสมของปริมาณแคดเมียมในส่วนของพืชระหว่างรากและดิน (BCF) มีค่าต่ำกว่า 1 และค่าการเคลื่อนย้ายแคดเมียมจากรากไปสู่ลำต้น (TF) มีค่าต่ำกว่า 1 แสดงถึงศักยภาพของผงกระดูกหมูในการสามารถยับยั้งการดูดดึงแคดเมียมของพืชได้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The study of effect of swine bone powder on cadmium uptake by rice (Oryza sativa L. var khao Dawk Mali 105) was divided in to two parts; including; (i) efficiency of swine bone for Cd removal aqueous solution and (ii) application of swine bone to immobilization of Cd in Oryza sativa L. var khao Dawk Mali 105 by green-house study. Characteristic of swine bone powder was studied and found that the main component are hexagonal structure, calcium hydroxyl-apatite. The results of batch experiment found that the highest percentage and adsorptive capacity of 10 mg/l at contact time 72 hours. Was 22.12 mg/g. The adsorption isotherm was fitted to Langmuir model The results about the effects of swine bone powder n cadmium uptake by rice in green house at three different application rates of swine bone powder amended soil, including 5, 10 and 15%, respectively. The results showed that rice in rice in crop one could be normal grown and produce harvest under all conditions of swine bone powder application rates while, plant growth decreased in crop 2. The efficiency of cadmium uptake in Khao Dawk Mali 105 rice were in range 0.18-0.20 % and 0.41-1.18 % at crop one and crop 2, respectively. Cadmium bioaccumulation in plant root to soil and translocation factor from root to shoot was less than one. Thus, swine bone powder can be inhibit of cadmium uptake in contaminated soil.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เพชรแสน, ศศิธร, "ผลของการเติมผงกระดูกหมูในการยับยั้งการดูดดึงแคดเมียมของข้าวดอกมะลิ 105" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 3294.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/3294