Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Global Governance of Food Standards: A Case Study of the Standards of Thai Organic Rice

Year (A.D.)

2018

Document Type

Thesis

First Advisor

วีระ สมบูรณ์

Faculty/College

Faculty of Political Science (คณะรัฐศาสตร์)

Degree Name

รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

รัฐศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2018.1067

Abstract

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สามประการ ประการแรก เพื่อคลี่คลายให้เห็นถึงการทำงาน ของกระบวนการโลกาภิบาลมาตรฐานอาหาร โดยมีกรณีศึกษาคือมาตรฐานข้าวอินทรีย์ โดยศึกษาในแง่ของที่มา ตัวแสดง ที่เกี่ยวข้อง ที่มาของสิทธิอำนาจ ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ของตัวแสดงเหล่านั้น ประการที่สอง คือเพื่อศึกษารูปแบบการ อภิบาลมาตรฐานข้าวอินทรีย์ในประเทศไทย โดยศึกษาเชื่อมโยงกับกระบวนการโลกาภิบาลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และ ประการสุดท้ายคือเพื่อทำความเข้าใจกับปัญหาและอุปสรรคของการอภิบาลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในไทย และ เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การวิจัยเชิงเอกสาร และการ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้อง จากการวิจัยได้ข้อค้นพบว่า การริเริ่มการทำเกษตรอินทรีย์เกิดขึ้นจากตัวแสดงที่ไม่ใช่ รัฐที่เล็งเห็นปัญหาของการเกษตรแบบสมัยใหม่ จากนั้นจึงเกิดการรวมตัว สร้างเครือข่ายระหว่างประเทศจนเกิดเป็น องค์กรระหว่างประเทศนอกภาครัฐอย่างสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ หรือ IFOAM ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการ โลกาภิบาลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ถึงแม้ว่า IFOAM จะไม่ได้มีสิทธิอำนาจบังคับเหมือนรัฐ และไม่ได้มีอำนาจในเชิง เศรษฐกิจเหมือนบรรษัทข้ามชาติทั้งหลาย แต่ IFOAM คือชุมชนองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ ที่ถือครอง ‘สิทธิอำนาจเชิง ความรู้' และสิทธิอำนาจดังกล่าวได้ทำงานผ่านกระบวนการโลกาภิบาลในสามมิติ ได้แก่ มิติของการวางระเบียบกฎเกณฑ์ มิติของการแข่งขันเชิงความรู้ และมิติของการเสริมพลังอำนาจ ในกรณีของประเทศไทย การอภิบาลมาตรฐานเกษตร อินทรีย์แสดงให้เห็นถึงการขัดกันของสถาบันที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ การขาดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและ เอกชนจึงเป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนากระบวนการอภิบาลมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในประเทศไทย

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This dissertation has three objectives. The first objective is to investigate the global governance process of food standards by using organic rice as a case study to unravel its origin and development, relevant actors, sources of authority, and interactions among the actors. The second objective is to study the governance of the organic rice standards in Thailand in relation to the global governance of the organic agriculture standards. The last objective is to understand problems of the governance process of Thai organic agriculture and try to propose solutions to those problems. Conducted qualitatively, this dissertation gathered the information through documentary research and key informant interviews. The findings revealed that organic agriculture was initiated by non-state actors who were aware of negative impacts of modern agriculture. Later, these actors internationally collaborated with one another and established a non-governmental international organization called the International Federation of Organic Agriculture Movement (IFOAM). Since then, IFOAM has played a vital role in the process of global governance of the organic agriculture standards. Albeit with the absence of political authority and economic power wielded by states and transnational corporations respectively, IFOAM is regarded as an epistemic community of organic agriculture that holds ‘epistemic authority’. Such authority is exerted through the global governance process in three dimensions, namely the dimension of regulation making, the dimension of knowledge contesting and the dimension of empowering. In the case of Thailand, the process of the organic agriculture standards reflects conflicts between formal and informal institutions. The lack of cooperation between the government and non-governmental sectors has been a crucial obstacle to the development of the efficient governance process of the organic agriculture standards in Thailand.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.