Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ATTHAKATHĀ MAHĀSUPINA JĀTAKA: SIGNIFICANCE ON THE CREATION OF THAI LITERATURE

Year (A.D.)

2018

Document Type

Thesis

First Advisor

อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล

Faculty/College

Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)

Department (if any)

Department of Thai (ภาควิชาภาษาไทย)

Degree Name

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ภาษาไทย

DOI

10.58837/CHULA.THE.2018.1039

Abstract

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสำคัญของอรรถกถามหาสุบินชาดกที่มีต่อการสร้างสรรค์วรรณคดีเรื่องพุทธทำนายความฝันพระเจ้าปเสนทิโกศลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนความสัมพันธ์กับวรรณคดีเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่าอรรถกถามหาสุบินชาดกมีเนื้อหาหลักคือความฝันและคำทำนายทั้ง 16 ประการที่กวีนำไปสร้างสรรค์เป็นวรรณคดีพุทธทำนายความฝันพระเจ้าปเสนทิโกศลสำนวนต่าง ๆ ทั้งฉบับหอสมุดแห่งชาติ ฉบับภูมิภาคท้องถิ่น รวมถึงวรรณกรรมและความเรียงอธิบายในปัจจุบัน โดยเรื่องพุทธทำนายความฝันพระเจ้าปเสนทิโกศลฉบับต่าง ๆ เหล่านี้มีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ การรักษาความฝันและคำทำนายทั้ง 16 ประการดังกล่าวไว้ตามอรรถกถามหาสุบินชาดก นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงลักษณะเด่นที่แตกต่างกันไปของแต่ละภูมิภาคด้วย พุทธทำนายความฝันพระเจ้าปเสนทิโกศล ฉบับหอสมุดแห่งชาติที่ค้นพบจำนวน 17 เล่มสมุดไทย แบ่งได้ 3 กลุ่มสำนวน โดยคัดเลือกตัวแทนสำนวนของแต่ละกลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ 1 ใช้สำนวนเลขที่ 7 กลุ่มที่ 2 ใช้สำนวนเลขที่ 10 และ กลุ่มที่ 3 ใช้สำนวนเลขที่ 196 ซึ่งพบว่าสำนวนเลขที่ 196 ของฉบับหอสมุดแห่งชาติมีความสัมพันธ์กับทุกฉบับที่ค้นพบในท้องถิ่นภาคกลางที่เป็นร้อยกรอง แสดงให้เห็นความนิยมในแบบสำนวนดังกล่าว พุทธทำนายความฝันพระเจ้าปเสนทิโกศลในภาคเหนือแสดงให้เห็นถึงลักษณะความเป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาที่ใช้ประกอบการเทศน์สอน โดยมีการใช้ถ้อยคำสำนวน และคาถาบาลีที่สัมพันธ์กับอรรถกถามหาสุบินชาดกอย่างชัดเจน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแสดงลักษณะเด่นที่ใช้พุทธทำนายความฝันพระเจ้าปเสนทิโกศลสะท้อนสังคมปัจจุบัน ทั้งการเมืองการปกครองและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการวิพากษ์วิจารณ์สังคมอีกวิธีหนึ่ง ขณะที่ภาคใต้นอกจากมีการวิพากษ์วิจารณ์สังคมแล้วยังมีมุ่งให้ความรู้ทั้งทางศีลธรรมและเป็นตำราการประพันธ์อีกด้วย อรรถกถามหาสุบินชาดกยังมีความสัมพันธ์ทางด้านเนื้อหาและแนวคิดกับวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ ได้แก่ เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา กาพย์พระไชยสุริยา และกาละนับมื้อส่วย โดยปรากฏเนื้อหาความฝันหรือคำทำนายจากอรรถกถามหาสุบินชาดกบางข้อ และแนวคิดที่กล่าวถึงอนาคตบ้านเมืองหรือทำนายเหตุการณ์บ้านเมืองที่ซึ่งหวังผลที่จะเตือนสติแนะแนวทางการประพฤติด้วย นอกจากนี้ยังมีการสร้างสรรค์วรรณกรรมปัจจุบันและข้อเขียนที่อธิบายอรรถกถามหาสุบินชาดก ที่เชื่อมโยงข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ของสังคม เพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ทำให้เนื้อหาของอรรถกถามหาสุบินชาดกสามารถดำรงอยู่ได้ในสังคมร่วมสมัย นอกจากนี้อรรถกถามหาสุบินชาดกสามารถทำความเข้าใจผ่านการตีความได้ 2 ระดับได้แก่ การตีความแบบโลกียะเพื่อทำความเข้าใจและหาทางออกเพื่อดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุขในสังคม และการตีความแบบโลกุตตระที่ทำให้เห็นถึงความเป็นอนิจจลักษณะ อันเป็นหนทางนำไปสู่นิพพานหรือการหลุดพ้นจากความทุกข์ โดยหลักธรรมสำคัญที่ปรากฏคือ กรรมและอนิจจัง ยังปรากฏอยู่ในพุทธทำนายความฝันพระเจ้าปเสนทิโกศลสำนวนต่าง ๆ ด้วย การสร้างสรรค์เรื่องพุทธทำนายความฝันพระเจ้าปเสนทิโกศลดังกล่าวจึงได้ตอกย้ำความสำคัญของอรรถกถามหาสุบินชาดกในฐานะที่เป็นต้นทางของการสร้างสรรค์วรรณคดีไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้อย่างชัดเจน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This thesis aims to study the significance of the Atthakathā Mahāsupina Jātaka as a source for creating Thai literature "the Phutthathamnai Khwamfan Phrachao Pasenthikoson (The Buddha's Predictions of King Pasenthikoson's dreams)" and to study the relationship between the Jātaka and other related literature from the past to the present. The study finds that the original Jātaka consists of 16 dreams and the predictions of each dream. This Jātaka inspires the creation of many texts known as Phutthathamnai, for instance, the Thai National Library versions, the local versions, and the contemporary versions. All versions correspondingly consist of 16 dreams as found in the original Jātaka. However, distinctive features that represent the identities of each region have been added in the local versions. There are 17 versions of the Phutthathamnai found in the National Library and can be categorized into 3 groups: the first group is represented by the text No.7, the second group by the text No.10 and the third group by the text No.196. In addition, the text No.196 of the National Library seems to relate to all versions found in central Thailand, so it is assumed that this version should be the most popular one. On the other hand, the Phutthathamnai found in northern Thailand is counted as an important Buddhist sermon in which the Pali texts from the original Jātaka are preserved. In northeastern Thailand, the story functions as a social reflection, while in southern Thailand the story is used to criticize political and cultural issues as well as to assert ethical and authorial lessons. Also, the Atthakathā Mahāsupina Jātaka relates to some other literature, such as Prophetic Lament for Krung Sri Ayutthaya, Kap Phra Chaisuriya and Kala Nap mue Suay. These texts paraphrase some dreams and the predictions from the original Jātaka and aim to tell about the future of the society or to forewarn about what is likely to happen so that the reader could behave properly. Besides, there are contemporary versions of the Phutthathamnai which are composed to explain the original Jātaka by referring to real situation in Thai society. These modern versions of the Phutthathamnai do not only help the reader to appreciate the content of the Jātaka, but also makes the Jātaka itself more valuable and reasonable. In addition, the message of the Jātaka can be interpreted in both mundane and supra-mundane views. From the Mundane view, the story gives moral instruction to people, whereas from the supra-mundane view the story leads one to the understanding of "Nirvana" by the contemplation on "karma" and "impermanence". In summary, the creation of the Phutthathamnai Khwamfan Phrachao Pasenthikoson apparently emphasizes the significance of the Aṭṭhakathā Mahāsupina Jātaka as a source for Thai literature from the past to the present.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.