Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Proposed learning-space model for developing significance of symbols in cultural products
Year (A.D.)
2018
Document Type
Thesis
First Advisor
อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร
Second Advisor
ภัทร ยืนยง
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Educational Policy, Management, and Leadership (ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา)
Degree Name
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
พัฒนศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2018.1019
Abstract
งานวิจัยเรื่องการนําเสนอรูปแบบพื้นที่เรียนรู้เพื่อพัฒนาความหมายเชิงสัญญะในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการให้ความหมายเชิงสัญญะในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการให้ความหมายเชิงสัญญะในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบพื้นที่เรียนรู้เพื่อพัฒนาการให้ความหมายเชิงสัญญะในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดตรรกะแห่งการบริโภคของฌอง โบดริยาร์ด การเข้ารหัสและการถอดรหัสของสจ๊วต ฮอลล์ ทุนและฮาบิทัสของปิแอร์ บูดิเยอร์ ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative research) จากผู้ผลิตและ/หรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโอทอปจำนวน 471 คน และผู้บริโภคทั่วไปจำนวน 513 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากตัวแทนผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่ได้รับคัดสรรสินค้าโอทอป 5 ดาวจำนวน 5 คน ตัวแทนผู้บริโภคที่มีความแตกต่างด้านอาชีพจำนวน 6 คน และตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การให้ความหมายเชิงสัญญะในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมจากผู้ผลิตและ/หรือผู้ประกอบการ และผู้บริโภคมีการให้ความหมายเชิงสัญญะต่อสินค้าโอทอปตรงกัน โดยลำดับที่ 1 ร้อยละ 33.8 และ 35.4 ด้านตรรกะเชิงสัญลักษณ์ของคุณค่าการแลกเปลี่ยน (Symbolic) ลำดับที่ 2 ด้านตรรกะเชิงหน้าที่ของคุณค่าในการใช้งาน (Function) ร้อยละ 25.9 และ 29.6 ลำดับที่ 3 ด้านตรรกะเชิงเศรษฐศาสตร์ของคุณค่าการแลกเปลี่ยน (Economic) ร้อยละ 22.9 และ 18.6 และลำดับที่ 4 ตรรกะเชิงความหลากหลายของคุณค่าตราผลิตภัณฑ์ (Sign) ร้อยละ 17.4 และ 16.4 ในผู้ผลิตและผู้บริโภคตามลำดับ 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการให้ความหมายเชิงสัญญะที่สำคัญจากผู้ผลิตและ/หรือผู้ประกอบการ พิจารณาจากทุนทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ทุนทางเศรษฐกิจ ที่ประกอบด้วยเงินทุนและทรัพยากรในพื้นที่ ทุนทางสังคม ที่ประกอบด้วยเครือข่ายความร่วมมือจากในและนอกชุมชน ทุนทางวัฒนธรรม ที่ประกอบด้วยความรู้ในกระบวนการผลิต ความรู้ด้านการตลาด ความเชื่อที่สืบทอดและส่งต่อกันในชุมชน และทุนทางสัญลักษณ์ ที่เกิดจากการรวมกันของทุนมากกว่า 1 ด้าน หรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของทุน และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องในด้านจังหวะเวลาหรือสถานที่ เหตุการณ์และการจัดวางตำแหน่งสินค้า ที่ส่งผลให้ผู้ผลิตและ/หรือผู้ประกอบการเกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาการผลิตสินค้าโอทอป รวมถึงความรู้สึกที่เกิดจาก"ฮาบิทัส" (Habitus) ที่ได้รับการหล่อหลอมมาจากครอบครัวหรือชุมชน 3) รูปแบบพื้นที่เรียนรู้เพื่อพัฒนาการให้ความหมายเชิงสัญญะในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม (Field) ประกอบด้วยผู้กระทำการ (Agency) ได้แก่ ผู้ผลิตและ/หรือผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีความสัมพันธ์ในการให้ความหมายผ่านตัวกลางอันได้แก่สินค้าโอทอป ซึ่งลักษณะของผู้ผลิตและ/หรือผู้ประกอบการเป็นผู้กำหนดรหัสสัญญะสามารถแบ่งตาม ฮาบิทัส ได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ Cultural Space เน้นภูมิปัญญา วิถีชีวิตและวัฒนธรรม Lush Space เน้นการพัฒนาสินค้าเพื่อยกระดับความก้าวหน้า และ Iconic Space เน้นการสร้างความโดดเด่นเชิงอัตลักษณ์ในระดับสากล และการตีความจากผู้บริโภคแตกต่างตามทุน โดยทุนทางเศรษฐกิจส่งผลต่อการให้ความหมายสินค้าด้านตรรกะเชิง Function และตรรกะเชิง Economic ทุนทางสังคม ส่งผลต่อตรรกะด้าน Symbolic และตรรกะด้าน Sign ทุนทางวัฒนธรรมส่งผลต่อตรรกะด้าน Symbolic และตรรกะด้าน Sign และทุนสัญลักษณ์ส่งผลต่อตรรกะด้าน Symbolic โดยการสนับสนุนทุนด้านต่างๆจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้เงื่อนไขด้านเวลา (Time) และการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Space) ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ระหว่างผู้กระทำการ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this research are 1) To study symbols in cultural products 2) To analyze associated factors and conditions of symbols in cultural products and 3) To proposed learning-space model for developing significance of symbols in cultural products, OTOP. This research uses Logic of Consumption from Jean Beaudrillard, Encode-Decode from Stuart Hall and Habitus and Capital from Pierre Bourdieu. Questionnaire were used to collect qualitative data from 417 producer and/or entrepreneur, and 513 consumers. In-depth interview were used to collect quantitative data from five OTOP Five-star producers and entrepreneur as, six consumers in different career, and 5 stakeholders. The results found that 1) The significance of symbols in cultural products from producer and/or entrepreneur as encoders and consumers as a decoders give the following results : The Logic of Symbolic Exchange Value was 33.8% and 35.4% for producers and consumers; The Logic of Functional was 25.9% and 29.6%; The Logic of Economic was 22.9% and 18.6%; The Logic of Sign was 17.4% and 16.4%, respectively 2) Associated factors and conditions were economic capital : capital money and local resources, social capital : network and cooperation, cultural capital : education and knowledge, symbolic capital : changed or combine from all capital. Furthermore, producer's inspirations, love in the profession and Habitus were also significant. 3) Learning-space model for developing significance of symbols in cultural products includes following agents: producers and/or entrepreneurs, consumers, and stakeholder. Producers and/or entrepreneurs give symbolic significance to different OTOP products as Cultural Space : reflections on wisdom and way of life, Lush Space : developing with value added and Iconic Space : representations of Thai identity to the world. Consumers decode and give significance to products according to their existing economic capital, social capital, cultural capital and symbolic capital. Economic capital effects Logic of Function and Logic of Economic. Social and cultural capital effect Logic of Symbolic Exchange and Logic of Sign. Symbolic capital effect only Logic of Symbolic Exchange. Finally, these encoded and decoded values are in dynamic relationship, constantly transformed by the time and space of the learning-space model.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วงศาสุลักษณ์, ปณิธาร, "การนําเสนอรูปแบบพื้นที่เรียนรู้เพื่อพัฒนาความหมายเชิงสัญญะในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 3150.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/3150