Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Criminalization Of Non-Payment Of Child Support
Year (A.D.)
2018
Document Type
Thesis
First Advisor
ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2018.875
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำหนดให้การไม่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร บุตรบุญธรรม ผู้อยู่ในปกครองเป็นความผิดอาญาในประเทศไทย โดยศึกษาการกำหนดความผิดทางอาญาของผู้ที่ละเลยไม่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรในกฎหมายต่างประเทศ รวมถึงพิจารณาความเหมาะสมในการบัญญัติความผิดดังกล่าวตามแนวคิดในการกำหนดความผิดทางอาญาต่าง ๆ และพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาในความผิดฐานไม่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ซึ่งจัดทำขึ้นโดยคณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับเด็กให้เป็นไปตามมาตรฐานของรัฐธรรมนูญและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กประกอบกันด้วย เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายของประเทศไทยให้มีความเหมาะสมต่อไป จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการยับยั้งข่มขู่และป้องกันปราบปรามผู้ที่ละเลยไม่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร บุตรบุญธรรม ผู้อยู่ในปกครองได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งการละเลยไม่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อบุตร บุตรบุญธรรม ผู้อยู่ในปกครองโดยตรง โดยอาจทำให้ได้รับการเลี้ยงดูอย่างไม่เหมาะสม มีคุณภาพชีวิตต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมาอีกหลายประการ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนรวมของรัฐต่อไป โดยรัฐต้องเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือบุตร บุตรบุญธรรม ผู้อยู่ในปกครองที่ไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากผู้มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูตามกฎมาย และเมื่อพิจารณากฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ก็ได้มีการกำหนดความผิดทางอาญาของผู้ที่ละเลยไม่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้โดยเฉพาะ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงเสนอให้ประเทศไทยมีการกำหนดให้การไม่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร บุตรบุญธรรม ผู้อยู่ในปกครองเป็นความผิดอาญา โดยแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เพื่อลงโทษผู้ที่ละเลยไม่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร บุตรบุญธรรม ผู้อยู่ในปกครองตามกฎหมาย และเพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองบุตร บุตรบุญธรรม ผู้อยู่ในปกครองจากการไม่ได้รับชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูให้มีโอกาสได้รับชำระมากยิ่งขึ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objective of this thesis is to study criminalization of non-payment of child support in Thailand by analyzing the relevant criminal offenses applied in other jurisdictions. Besides, the thesis considers the appropriateness of the criminalization by taking into account the theoretical principles concerning criminalization. The draft amendment to the Thai Criminal Code to criminalize non-payment of child support, developed by Child Law Development Sub-Committee to comply with the Safeguards according to the Constitution and Convention on the Rights of the Child, is analyzed and studied in order to propose the effective amendment to Thai legal provisions as well. After thoroughly studying, it can be seen that Thailand has neither effective precautionary measure nor appropriate sanctions for the person who fails to pay child support. Regrettably, the non-payment would adversely affect child. This inevitably leads to inappropriate nurture or undesirable standard of living, resulting in various kinds of social problems which tend to take their toll on public interest. Government has to play an active role in this situation to aid child who is not supported by the person having a legal responsibility to nurture him/her. The researcher found that the legal provisions enforced in several jurisdictions including the United States of America, French Republic and Federal Republic of Germany clearly and specifically criminalize non-payment of child support. For the above reasons, the researcher hereby proposes Thailand to criminalize non-payment of child support. The criminal offense and punishment for the person failing to pay child support need to be added to the Thai Criminal Code. The researcher trusts that the amendment could offer better protection of child – the chance of receiving child support maintenance is expected to be substantially increased.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
แก้วกัลยา, นุสรา, "การกำหนดให้การไม่จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นความผิดอาญา" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 3006.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/3006