Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Dentin biomodification with grape seed extract when using universal adhesive etch-and-rinse mode
Year (A.D.)
2018
Document Type
Thesis
First Advisor
ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์
Second Advisor
นีรชา สารชวนะกิจ
Faculty/College
Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Operative Dentistry (ภาควิชาทันตกรรมหัตถการ)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ทันตกรรมหัตถการ
DOI
10.58837/CHULA.THE.2018.795
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรับเปลี่ยนชีวภาพเนื้อฟันด้วยสารสกัดจากเมล็ดองุ่นในการลดปริมาณแอคทีฟเจลาติเนส เมื่อใช้ร่วมกับสารยึดติดยูนิเวอร์แซล เอทช์แอนด์รินส์โหมด โดยใช้ผงเนื้อฟันที่เตรียมจากฟันกรามใหญ่ซี่ที่สามของมนุษย์ในการวัดปริมาณแอคทีฟเอ็มเอ็มพี ชนิดที่ 2 และใช้ชิ้นตัวอย่างการยึดติดเรซินและเนื้อฟันเพื่อศึกษาตำแหน่งที่มีแอคทีฟเจลาติเนสในชั้นไฮบริด แบ่งกลุ่มการทดลองเป็น 6 กลุ่ม คือ เนื้อฟันที่ไม่ปรับสภาพผิวใด ๆ กลุ่มเนื้อฟันที่กัดด้วยกรดฟอสฟอริก กลุ่มเนื้อฟันที่ใช้สารยึดติดยูนิเวอร์แซล เอทช์แอนด์รินส์โหมด ซิงเกิลบอนด์ ยูนิเวอร์แซล หรือ จี พรีมิโอ บอนด์ และกลุ่มที่มีการปรับสภาพเนื้อฟันด้วยสารสกัดจากเมล็ดองุ่นนาน 1 นาที หลังกัดด้วยกรดฟอสฟอริก ร่วมกับการใช้สารยึดติดดังกล่าว วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบบองเฟอโรนี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า กระบวนการยึดติดเนื้อฟันด้วยสารยึดติดยูนิเวอร์แซล เอทช์แอนด์รินส์โหมด มีผลลดปริมาณแอคทีฟเอ็มเอ็มพี ชนิดที่ 2 และการปรับเปลี่ยนชีวภาพเนื้อฟันด้วยสารสกัดจากเมล็ดองุ่นยิ่งทำให้ลดปริมาณแอคทีฟเอ็มเอ็มพี ชนิดที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อใช้สารยึดติด จี พรีมิโอ บอนด์ สอดคล้องกับผลจากการศึกษาตำแหน่งที่พบแอคทีฟเจลาติเนสในชั้นไฮบริดลดลงเมื่อใช้สารสกัดจากเมล็ดองุ่นก่อนการทาสารยึดติด จี พรีมิโอ บอนด์ อาจสรุปได้ว่าสารสกัดจากเมล็ดองุ่นช่วยส่งผลดีในการลดปริมาณแอคทีฟเจลาติเนส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับสารยึดติดที่มีความไม่ชอบน้ำสูง แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ย่อยโปรตีน ผลต่อค่ากำลังการยึดติดและประสิทธิภาพของสารสกัดจากเมล็ดองุ่นในการยืดอายุของการยึดติดเนื้อฟัน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The aim of this study was to examine the effect of grape seed extract (GSE) pretreatment on reduction of active gelatinases when using etch-and-rinse mode universal adhesive. Dentin powder was prepared for analysis of active MMP-2 by BiotrakTM assay. Resin-dentin slices were prepared for an in situ zymography in order to localize active gelatinases by quenched fluorescein-conjugated gelatin under a confocal microscope. Fluorescence intensity was analyzed for a quantitative analysis. Specimens were allocated into 6 groups, as a non-treated control, phosphoric acid etched (PA), PA followed by Single Bond Universal (SBU) or G-Premio Bond (GPB), and PA followed by GSE for 1 minute prior to SBU or GPB. The data were analyzed by a one-way ANOVA and Bonferroni test at the significant level of 0.05. The results demonstrated that application of etch-and-rinse mode universal adhesive by both SBU and GPB caused the reduction of active MMP-2 in dentin matrices, however only further significant reduction was found in GPB pre-treated with GSE analyzed by BiotrakTM assay. In situ zymography demonstrated the location of active gelatinases, and fluorescence intensity analysis confirmed the significant reduction of active gelatinases in the hybrid layer of the GPB pre-teated with GSE compared to GPB. The present study demonstrated potential advantage of applying GSE for a reduction of active gelatinases especially at the hybrid layer with more benefit on hydrophobic adhesive system.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สะนนท์, กิตติศักดิ์, "การปรับเปลี่ยนชีวภาพเนื้อฟันด้วยสารสกัดจากเมล็ดองุ่น เมื่อใช้ร่วมกับสารยึดติดยูนิเวอร์แซล เอทช์แอนด์รินส์โหมด" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 2926.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/2926