Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Changes in Kujala Score and Functional Outcome after Home-Based Exercise Program in Recreational Male and Female Runners with Patellofemoral Pain Syndrome

Year (A.D.)

2018

Document Type

Thesis

First Advisor

ภาสกร วัธนธาดา

Second Advisor

สมพล สงวนรังศิริกุล

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

เวชศาสตร์การกีฬา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2018.612

Abstract

งานวิจัยนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของค่าคะแนนอาการปวดเข่าลูกสะบ้า (Kujala Score), Pain Scale, ค่า Single Leg Hop Test (SLHT), ค่า Step Down Test (SDT) และค่าอัตราส่วนแบบทำงานของความแข็งแรงกล้ามเนื้อเหยียดเข่าต่อกล้ามเนื้องอเข่า (Functional Qecc/Hcon ratio) หลังได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้าน 24 สัปดาห์ ในนักวิ่งสมัครเล่นเพศชายและเพศหญิงที่มีอาการปวดเข่าลูกสะบ้า จำนวน 59 คน เป็นเพศชาย 30 คน เพศหญิง 29 คน วัดค่า Kujala Score, Pain Scale, SLHT, SDT และค่า Functional Qecc/Hcon ratio ก่อนเริ่มต้นการออกกำลังกาย (T0) ครบ 8 สัปดาห์ (T8) ครบ 16 สัปดาห์ (T16) และเมื่อสิ้นสุด 24 สัปดาห์ (T24) ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมดมีค่า Kujala Score เพิ่มขึ้น จากที่ T0 มีค่า 78.95 ± 9.42 และที่ T24 มีค่าเป็น 99.50 ± 0.82, ค่า Pain Scale ที่ T0 มีค่า 5.61±1.43 ที่ T24 มีค่า 0.03±0.18, ค่า SLHT และค่า SDT มีค่าผลลัพธ์เปลี่ยนแปลงดีขึ้น ค่า Functional Qecc/Hcon ratio ที่ T0 มีค่า 1.34 ± 0.20 และ T24 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.90 ± 0.12 โดยค่าทั้งหมดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศชายและเพศหญิง พบว่า ค่า SLHT ค่า SDT และค่า Functional Qecc/Hcon ratio ของเพศชายมีค่าสูงกว่าเพศหญิงในทุกช่วงเวลา โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลสรุปได้ว่าการออกกำลังกายตามโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านเป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ ในนักวิ่งสมัครเล่นที่มีอาการปวดเข่าลูกสะบ้า ทั้งเพศชายและเพศหญิง มีผลช่วยเพิ่มค่า Kujala Score ลดความรู้สึกปวดขณะวิ่ง และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของข้อเข่าให้ดีขึ้นทุกค่ามีค่าที่ดีขึ้นจากสัปดาห์ที่ 8 สัปดาห์ที่ 16 และสัปดาห์ที่ 24 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับก่อนออกกำลังกาย ค่าเหล่านี้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่สัปดาห์ที่ 8 ยกเว้นค่าอัตราส่วนการทำงานของความแข็งแรงกล้ามเนื้อเหยียดเข่าต่อกล้ามเนื้องอเข่าที่ดีขึ้นแต่วัดที่สัปดาห์ที่ 24 เท่านั้น

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This experiment studied the change in Kujala score, Pain Scale, Single Leg Hop Test (SLHT), Step Down Test (SDT) and functional quadriceps to hamstring ratio (Functional Qecc/Hcon ratio) after 24-week Home-Based exercise program in recreational male and female runners with patellofemoral pain syndrome (PFP), 59 runners (30 Males, 29 Females). The Kujala score, Pain Scale, SLHT, SDT and Functional Qecc/Hcon ratio before start Home-Based exercise program (T0), 8 weeks (T8), 16 weeks T16) and end 24 weeks (T24) had been collected. The experiment found Kujala score increasing (T0 of 78.95 ± 9.42, T24 of 99.50 ± 0.82), Pain Scale decreasing (T0 of 5.61 ± 1.43, T24 of 0.03 ± 0.18), SLHT increasing, SDT increasing, Functional Qecc/Hcon ratio increasing (T0 of 1.34 ± 0.20, T24 of 1.90 ± 0.12) after 24 weeks. All parameters improved significantly. Comparing males and females, SLHT, SDT and Functional Qecc/Hcon ratio of males was higher than those of females in all data collection significantly. In conclusion, the 24-week Home-Based exercise program in recreational runners with PFP both males and females can increase Kujala score, decrease pain during running, increase knee functional outcome from T8, T16 and T24 compare with the start of the program. All parameters improved successively with significance since T8 except Functional Qecc/Hcon ratio collected only at T24

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.