Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Product development of Thai Northeastern-style spicy sauce (jaew) flavored film

Year (A.D.)

2018

Document Type

Thesis

First Advisor

วรภา คงเป็นสุข

Second Advisor

ธีรนันท์ เจนจรัสสกุล

Faculty/College

Faculty of Science (คณะวิทยาศาสตร์)

Department (if any)

Department of Food Technology (ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

เทคโนโลยีทางอาหาร

DOI

10.58837/CHULA.THE.2018.600

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นปรุงรสน้ำจิ้มแจ่ว โดยใช้มอลโทเดกซ์ทรินเป็นสารก่อฟิล์มเพื่อให้มีสมบัติในการละลายน้ำดี และใช้แซนแทนกัมเพื่อปรับปรุงสมบัติเชิงกลของฟิล์ม ขั้นตอนแรกคัดเลือกสูตรสารละลายขึ้นรูปฟิล์มสูตรควบคุม (ไม่ใส่ส่วนผสมที่ไม่ละลายน้ำ ได้แก่พริกป่นและข้าวคั่ว) จากสูตรน้ำจิ้มแจ่ว 3 สูตร ที่แปรอัตราส่วนของน้ำมะขามเปียกต่อน้ำมะนาว คือ สูตรน้ำมะขาม (1:0) สูตรผสม (1:1) และสูตรน้ำมะนาว (0:1) และแปรปริมาณแซนแทนกัมในสารละลายมอลโทเดกซ์ทริน 3 ระดับ (ร้อยละ 0, 1 และ 2 โดยน้ำหนัก) สามารถเลือกสารละลายขึ้นรูปฟิล์ม 2 สูตร ได้แก่ สูตรน้ำมะขามและสูตรผสม ที่ใส่แซนแทนกัมปริมาณร้อยละ 1 ฟิล์มที่ได้มีสมบัติเชิงกลที่เหมาะต่อการขึ้นรูปและละลายน้ำได้ดี ขั้นต่อมาพัฒนาการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์แผ่นปรุงรสน้ำจิ้มแจ่ว โดยเติมส่วนพริกป่นและข้าวคั่วบนแผ่นฟิล์มขณะอบแห้ง และแปรความหนาของแผ่นปรุงรส 2 ระดับ (0.4 และ 0.8 มิลลิเมตร) พบว่าการเติมพริกป่นและข้าวคั่วเสริมให้ฟิล์มมีความต้านทานแรงดึงสูงขึ้น (p<0.05) และสามารถละลายน้ำกลับเป็นน้ำจิ้มแจ่วได้ โดยแผ่นหนา 0.8 มิลลิเมตร ให้สมบัติเชิงกลที่ดีกว่าแผ่นบาง (p<0.05) และสูตรผสมมีค่าการละลายน้ำสูงกว่าสูตรมะขามเล็กน้อย เมื่อทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสของแผ่นปรุงรส (แผ่นหนา) และน้ำจิ้มแจ่วที่ละลายจากแผ่นปรุงรส พบว่าคะแนนความชอบด้านลักษณะปรากฏของแผ่น เนื้อสัมผัสและการละลายน้ำของแผ่นปรุงรสทั้ง 2 สูตร (สูตรน้ำมะขามและสูตรผสม) ไม่แตกต่างกัน (p≥0.05) เมื่อละลายเป็นน้ำจิ้มแจ่วแล้ว คะแนนความชอบด้านต่าง ๆ ไม่ต่างกัน โดยมีคะแนนในช่วงชอบมาก (5-6 จาก 7 คะแนน) จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพระหว่างการเก็บรักษาแผ่นปรุงรสแจ่วทั้ง 2 สูตร ที่อุณหภูมิ 35 และ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 วัน พบว่า ปริมาณความชื้นและค่า aw มีแนวโน้มสูงขึ้นและมีสีเข้มขึ้น ซึ่งที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส ให้ค่าความต้านทานแรงดึงสูงกว่า ขณะที่ค่าร้อยละการยืดตัว ปริมาณความชื้น aw และค่าการละลายน้ำต่ำกว่า ที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส (p<0.05) โดยผลิตภัณฑ์แผ่นปรุงรสน้ำจิ้มแจ่วทั้งสองสูตรมีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดระหว่างการเก็บรักษา (60 วัน) จากการทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัส พบว่า แจ่วแผ่นทั้งสองสูตรมีคะแนนความชอบด้านสีไม่แตกต่างกัน แต่ลดลงตามระยะเวลาในการเก็บรักษา เมื่อละลายเป็นน้ำจิ้มแจ่ว พบว่าสูตรน้ำมะขามมีแนวโน้มของคะแนนความชอบทางด้านกลิ่น กลิ่นรสและความชอบโดยรวมน้อยกว่าและมีค่าลดลงเร็วกว่าสูตรผสม แผ่นปรุงรสน้ำจิ้มแจ่วที่พัฒนาขึ้นสามารถผลิตจากน้ำมะขามเปียกหรือผสมน้ำมะนาวที่ใส่แซนแทนกัมปริมาณร้อยละ 1 เมื่อโรยด้วยพริกป่นและข้าวคั่ว สามารถขึ้นรูปได้ดี มีสมบัติเหมาะสมในการนำมาใช้งาน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This study aimed to develop Jaew-film from maltodextrin for the fast dissolving property and xanthan gum for the improvement film’s mechanical properties. The first part was the selection of the control film-casting solutions (without chili powders and roasted rice). Nine film formulas from 3 Jaew sauce formulas which varying tamarind juice to lime juice ratio as (tamarind juice (1:0), blend (1:1) and lime juice (0:1)) and 3 levels of xanthan gum concentrations (0, 1 and 2% w/w) in the film-casting solutions were studied. The tamarind and blend formulas with 1% xanthan gum were selected based on the film’s mechanical properties and the high solubility. Next step was the devlepment of Jaew-film product as the drying particles (3 % chili powder and 2 % roasted rice) were applied in film casting process. The thickness of the film was varied at 2 levels (0.4 and 0.8 mm). With particles, the films had higher tensile strength and were able to reconstitute back into sauce easily. The thick films (0.8 mm) showed better mechanical properties than the thin. The film from the blend formula tended to have higher solubility than the that of tamarind formula. From the acceptance test, the 2 formulas of thick Jaew-films were not significant different in liking scores of appearance and texture and also the score for ease of reconstitution (p≥0.05). The reconstituted Jaew sauces were like moderately to high (5-6 from 7 points). Film stability was determined. The tamarind and blend films were stored at 2 temperatures (35 and 45 oC) for 60 days. During storage, films became darker and absorbed more moisture. At the 45 oC condition, films showed significantly higher in tensile strength and lower in elongation, moisture content, aw and solubility (p<0.05). Numbers of total microorganisms did not exceed the standard for both products. The acceptance test showed the decreasing of liking in color during storage but not significant difference between the 2 films. For the reconstituted sauces, liking scores of odor, flavor and overall liking of the tamarind formula tended to be lower and decreased faster than the blend formula. In conclusion, the Jaew-films from tamarind and blend added with 1% xanthan gum and 5% dried particles were developed with acceptable properties.

Included in

Food Science Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.