Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2018
Document Type
Independent Study
First Advisor
ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2018.37
Abstract
ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินหลายฉบับ ซึ่งปัจจุบันมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยวิธีการประเมินมูลค่าที่แตกต่างจากวิธีการเดิมคือการใช้มูลค่าประเมินโดยกรมธนารักษ์ และมีวิธีการบรรเทาภาระภาษีในส่วนของการลดอัตราภาษีและการยกเว้นภาษีเพื่อบรรเทาภาระสำหรับที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรม อย่างไรก็ตามหลักเกณฑ์ ในการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นยังมีความไม่เหมาะสมในหลายประการ เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาจากการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนเพื่อศึกษากฎหมายของประเทศฟิลิปปินส์และประเทศสหรัฐอเมริกา (มลรัฐนิวยอร์ค) ที่มีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินในประเทศ และมาตรฐานบัญชีที่เกี่ยวข้องเพื่อนำแนวทางและแนวคิดต่างๆมาปรับใช้ เพื่อเป็นการพัฒนาแนวทางการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศไทย โดยงานศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นโดยอาศัยการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ซึ่งเป็นทั้งเอกสารข้อมูลในประเทศและต่างประเทศเป็นสำคัญ จากการศึกษาผู้เขียนพบว่า การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่นั้น ขาดเความเหมาะสมในด้านการใช้วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาในการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน รวมทั้งการขาดความชัดเจนของการบรรเทาภาระภาษี ตลอดจนขาดการคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงมูลค่าทรัพย์สินจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อภาระภาษีที่ผุ้มีหน้าที่เสียภาษีต้องแบกรับ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นผู้ถือครองทรัพย์สิน รวมไปถึงภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่ต้องถือครองทรัพย์สินเพื่อดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม จากประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น วิธีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างควรนำหลักเกณฑ์ การคำนวณค่าเสื่อมราคาตามมาตรฐานการบัญชีมาปรับใช้กับวิธีการประเมินมูลค่าของกรมธนารักษ์ และปรับปรุงวิธีการจัดเก็บภาษีบางส่วนไม่ว่าจะเป็นการบรรเทาภาระภาษีและการปรับปรุงมูลค่าด้วยระดับการประเมิน โดยนำหลักวิธีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของทั้งประเทศฟิลิปปินส์และประเทศสหรัฐอเมริกา (มลรัฐนิวยอร์ค) มาปรับใช้ อีกทั้งควรศึกษามุมมองภาษีทรัพย์สินอื่นๆ เช่น การลดหย่อนเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือการลดหย่อนเฉพาะบุคคล ซึ่งอาจนำมาปรับใช้และเป็นการพัฒนาการจัดเก็บภาษีในประเทศไทยต่อไป
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
กิจสุขจิต, วิศรุต, "ปัญหาการรับภาระภาษีจากการประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6859.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6859