Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
การศึกษาเปรียบเทียบความแม่นยำของการฝังรากฟันเทียมซี่เดี่ยวระหว่างการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมโดยใช้วิธีคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือแบบสถิตกับแบบช่วยเหลือผ่านการจดจำ
Year (A.D.)
2018
Document Type
Thesis
First Advisor
Atiphan Pimkhaokham
Faculty/College
Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Oral and Maxillofacial Surgery (ภาควิชาศัลยศาสตร์ (คณะทันตแพทยศาสตร์))
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's Degree
Degree Discipline
Oral and Maxillofacial Surgery
DOI
10.58837/CHULA.THE.2018.380
Abstract
Objective: This randomized controlled clinical trial aimed to compared the accuracy of implant position between static and mental Computer Assisted Implant Surgery (CAIS) in single tooth gap. Materials and methods: 52 patients who received 60 implants in single tooth gap, randomized equally into static or mental CAIS. In static CAIS group, data from CBCT scan and data from intraoral or model scan were utilised for the three dimensional virtual planning implant positioning and desiring of a three dimensional surgical guide in implant planning software. Implant bed preparation and implant insertion were done through the three dimensional surgical guide. Implants in the mental CAIS group were virtually planned in the same software, but surgery was done in freehand manner. After the surgery, postoperative CBCT was superimposed onto preoperative CBCT. Deviation in angle, implant shoulder and apex between planned and final implant positions were measured and compared in the same software. Results: In static CAIS group, mean angle deviation, 3D deviation at implant shoulder and implant apex were 3.1 ± 2.3°, 1.0 ± 0.6 mm and 1.3 ± 0.6 mm, respectively. In mental CAIS group, mean angle deviation, 3D deviation at implant shoulder and implant apex were 6.9 ± 4.4°, 1.5 ± 0.7 mm and 2.1 ± 1.0 mm respectively. Statistically significant differences were found in all dimensions between two groups. Conclusion: Static CAIS demonstrated higher accuracy of implant positioning compared to the mental CAIS in single tooth gap.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้เป็นการทดลองทางคลินิกแบบสุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแม่นยำของการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมระหว่างการผ่าตัดด้วยวิธีคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือแบบสถิตกับแบบช่วยเหลือผ่านการจดจำในบริเวณที่ฟันหายไปหนึ่งซี่ วิธีวิจัย: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมในการวิจัยจำนวน 52 คน ได้รับการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมทั้งหมด 60 ซี่ ถูกสุ่มเข้าสู่การผ่าตัดฝังรากฟันเทียมด้วยวิธีคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือแบบสถิตหรือแบบช่วยเหลือผ่านการจดจำจำนวนเท่าๆกัน ในกลุ่มการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมด้วยวิธีคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือแบบสถิต ข้อมูลที่ได้จากการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ลำรังสีรูปกรวย และข้อมูลที่ได้จากการถ่ายภาพพื้นผิวในช่องปากหรือจากแบบจำลอง ถูกนำมาใช้ในการจำลองการวางตำแหน่งรากฟันเทียมและออกแบบแผ่นจำลองนำทางผ่าตัดในโปรแกรมที่ใช้วางแผนการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมในลักษณะ 3 มิติ ขั้นตอนการฝังรากฟันเทียมถูกกระทำผ่านทางแผ่นจำลองนำทางผ่าตัด ในกลุ่มการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมด้วยวิธีคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือผ่านการจดจำ จะจำลองการวางตำแหน่งรากฟันเทียมโดยใช้โปรแกรมเดียวกับที่ใช้วางแผนการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมในกลุ่มคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือแบบสถิต แต่การผ่าตัดจะดำเนินการในลักษณะมือเปล่า หลังทำการผ่าตัด มุมของรากฟันเทียมที่เบี่ยงเบนไป ความเบี่ยงเบนที่ตำแหน่งบ่าและปลายรากฟันเทียมจะถูกวัด โดยอาศัยภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ลำรังสีรูปกรวยที่ถูกถ่ายหลังทำการผ่าตัด ที่นำมาซ้อนทับกับภาพรังสีที่ถูกถ่ายก่อนการผ่าตัดในโปรแกรมเดียวกับที่ใช้วางแผนตำแหน่งรากฟันเทียม ผลการวิจัย: ในกลุ่มการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมด้วยวิธีคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือแบบสถิตพบว่ามุมของรากฟันเทียมเบี่ยงเบนไป 3.1 ± 2.3 องศา ความเบี่ยงเบนที่บ่าของรากฟันเทียมเท่ากับ 1 ± 0.6 มิลลิเมตร และความเบี่ยงเบนที่ปลายของรากฟันเทียมเท่ากับ 1.3 ± 0.6 มิลลิเมตร ส่วนในกลุ่มการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมด้วยวิธีคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือผ่านการจดจำพบว่ามุมของรากฟันเทียมเบี่ยงเบนไป 6.9 ± 4.4 องศา ความเบี่ยงเบนที่บ่าของรากฟันเทียมเท่ากับ 1.5 ± 0.7 มิลลิเมตร และความเบี่ยงเบนที่ปลายของรากฟันเทียมเท่ากับ 2.1 ± 1.0 มิลลิเมตร พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ทุกตำแหน่งระหว่างทั้ง 2 กลุ่ม สรุปผลการวิจัย: การผ่าตัดฝังรากฟันเทียมด้วยวิธีคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือแบบสถิตมีความแม่นยำมากกว่าการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมด้วยวิธีคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือผ่านการจดจำในบริเวณที่ฟันหายไปเพียงหนึ่งซี่
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Smitkarn, Palita, "Comparative study of the accuracy of single tooth implants placed between static and mental computer assisted surgery" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 2511.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/2511