Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Relations between family factors and behaviors of children with mild autism spectrum disorder in Yuwaprasart Waithayopathum Hospital
Year (A.D.)
2017
Document Type
Thesis
First Advisor
บุรณี กาญจนถวัลย์
Second Advisor
ฉัตรมงคล ฉ่ำมาก
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Psychiatry (ภาควิชาจิตเวชศาสตร์)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
สุขภาพจิต
DOI
10.58837/CHULA.THE.2017.1559
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของเด็กออทิสติกกลุ่มที่มีระดับอาการน้อย, เพื่อศึกษาปัจจัยด้านครอบครัวของเด็กออทิสติกกลุ่มที่มีระดับอาการน้อย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านครอบครัวกับพฤติกรรมของเด็กออทิสติกกลุ่มที่มีระดับอาการน้อย ที่มารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ เก็บข้อมูลจากผู้ดูแลหลักของเด็กออทิสติกกลุ่มที่มีระดับอาการน้อยช่วงอายุ 4 - 16 ปี ที่มารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก จำนวน 82 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 5 ส่วน 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2. แบบประเมินความสัมพันธ์ภายในครอบครัว 3. แบบสอบถามการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว 4. แบบวัดทัศนคติของบิดามารดาต่อการดูแลบุตรออทิสติก 5. แบบสอบถามประเมินพฤติกรรมเด็กออทิสติก วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานด้วย Independent sample t- test หรือ One-way ANOVA และวิเคราะห์พหุคูณด้วย Multiple linear regression analysis ผลการวิจัย พบว่า ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 82.9 ครอบครัวปฏิบัติหน้าที่อยู่ในระดับดีพอสมควร ร้อยละ 74.4 บิดามารดามีทัศนคติต่อการดูแลบุตรออทิสติกในระดับปานกลาง ร้อยละ 68.3 เด็กมีพฤติกรรมด้านอารมณ์อยู่ในภาวะปกติ ร้อยละ 58.5 ด้านสมาธิภาวะปกติ ร้อยละ 52.4 ด้านความประพฤติภาวะปกติ ร้อยละ 63.4 ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนภาวะมีปัญหา ร้อยละ 65.9 พฤติกรรมเด็กรวม 4 ด้านภาวะปกติ ร้อยละ 46.3 ด้านสัมพันธภาพทางสังคมมีจุดแข็ง ร้อยละ 61.0 จากการวิเคราะห์โดย Stepwise linear regression ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมด้านความประพฤติในทางบวกของเด็กออทิสติกกลุ่มนี้คือ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวที่ดี ส่วนปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมโดยรวมในทางบวกคือ บิดามารดาเป็นผู้ดูแลหลัก และปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมโดยรวมในทางลบคือ การต้องได้รับการรักษาด้วยยา ผลการวิจัยครั้งนี้ สรุปได้ว่า การที่เด็กออทิสติกจะมีปัญหาพฤติกรรมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยทางด้านครอบครัว ผู้ดูแล ปัจจัยจากตัวเด็กออทิสติกและปัจจัยทางด้านการดูแลรักษาทางการแพทย์ ดังนั้นการดูแลหรือจัดการกับปัญหาพฤติกรรมของเด็กออทิสติกจึงควรมีการดูแลรักษาแบบองค์รวมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งกับครอบครัว และตัวเด็กเอง
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This is a descriptive research aimed to investigate the relationship between the behavior of children with mild autism spectrum disorder and their family factors. Data are collected from Out-patient department of Yuwaprasart Waithayopathum hospital. Information are obtained from the caregiver of 82 children aged 4-16 years. Our questionnaires consists of 5 parts; demographic data, family relationship, Chulalongkorn Family Inventory (CFI), parents attitude for child care, and strengths and difficulties questionnaires (SDQ). Independent sample t-test and One-way ANOVA are used for descriptive and inferential statistics. Multiple linear regression analysis is used for multivariate analysis. The results showed that family relationship is in high level (82.9%), family function is in good level (74.4%), and parents attitude for child care is in fair level (68.3%). 58.5% of these children have normal emotional status, 52.4% with normal attention and 63.4% with normal behavior. 65.9% of these children have problem with friendship. Only 46.3% have normal condition in general bahavior. Prosocial behavior is in good strength (61.0%). By stepwise linear regression, good prognostic factor for good child conduct in mild autism spectrum disorder is good family relationship. Good prognostic factor for general behavior is parents acting as main caretakers. Poor prognostic factor for general behavior is medication required. Our results imply that behavioral problem in autistic children are multifactorial, including family, care giver, individual and treatment factor. Therefore autistic child care should be approached holistically to reach the best result for both the family and the child.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ทรัพย์สิทธิกุล, วัชรพงษ์, "ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านครอบครัวกับพฤติกรรมของเด็กออทิสติก กลุ่มที่มีระดับอาการน้อย ในโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 2049.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/2049