Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
PHOTO-MEDIA ART: SILENT VIOLENCE
Year (A.D.)
2017
Document Type
Thesis
First Advisor
กมล เผ่าสวัสดิ์
Second Advisor
พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์
Faculty/College
Faculty of Fine and Applied Arts (คณะศิลปกรรมศาสตร์)
Degree Name
ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
ศิลปกรรมศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2017.1477
Abstract
การวิจัยสร้างสรรค์ ศิลปะสื่อภาพถ่าย: ความรุนแรงในความสงัด มาจากความกลัวความรุนแรงในความไม่ปลอดภัยต่อร่างกายและทรัพย์สินที่มีอยู่ในเมืองหลวงที่เงียบสงัดยามค่ำคืน ความกลัวนี้มาจากการรับข้อมูลข่าวสารอาชญากรรม การบอกกล่าวตักเตือนและประสบการณ์ตรงของผู้วิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุที่ก่อให้เกิดความกลัวในความไม่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสื่อภาพถ่ายที่สะท้อนบรรยากาศความรุนแรงของกรุงเทพมหานครที่เงียบสงัดยามค่ำคืน ขั้นตอนการวิจัยคือ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวกับการรับรู้ ความกลัว ความรุนแรงอาชญากรรม ข้อมูลข่าวสารและลักษณะพื้นที่ที่เคยเกิดเหตุอาชญากรรม ทฤษฎีจิตวิสัย (Sublime) ศิลปะภาพถ่าย และศิลปินที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวคิด รูปแบบ ความงาม (Aesthetic) และการสื่อความหมาย 2) สำรวจพื้นที่และทดลองถ่ายภาพเพื่อคัดเลือกสถานที่ 3) สร้างสรรค์ผลงาน 4) พัฒนาผลงาน 5) วิเคราะห์ อภิปรายผลงานและสรุปผล จากการศึกษารูปแบบความกลัวความรุนแรงพบว่า การรับรู้ข่าวสารจำนวนมากทำให้ความรู้สึกกลัวต่อภัยอาชญากรรมสูงขึ้นและรูปแบบความกลัวมีความสัมพันธ์กับลักษณะของสถานที่ โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ 1) ความกลัวความรุนแรงที่เกิดต่อร่างกาย การปล้นจี้และชิงทรัพย์มักเกิดในพื้นที่ที่มีตึก อาคาร บ้านเรือน หรือเส้นทางสัญจรทั่วไป และ 2) ความกลัวในความรุนแรงที่เกิดต่อร่างกาย ชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกายและการข่มขืน มักเกิดในบริเวณที่เป็นทุ่งหญ้ารกร้างซึ่งเป็นความกลัวที่มักเกิดกับเพศหญิง โดยสร้างสรรค์ภาพถ่ายเมือง (City scape) เป็นภาพถ่ายขาวดำ ขนาด 70x150 เซนติเมตร จำนวน 21 ชิ้น จากพื้นที่ 11 เขตในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า เทคนิคการต่อภาพ (Stitching) เป็นพาโนราม่าจะขยายมุมมองในการรับรู้และช่วยเพิ่มคุณภาพของไฟล์ให้สามารถพิมพ์ในขนาดใหญ่ขึ้นได้ เพราะขนาดของภาพที่แคบเป็นข้อจำกัดในการรับรู้ ซึ่งภาพขนาดใหญ่ทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในภาพ ทั้งการถ่ายภาพให้เห็นพื้นที่ว่าง การใช้มุมมองระดับสายตา การระบายแสง (Light painting) และปรับปรุงภาพหลังถ่าย (Post production) ด้วยการเพิ่มลดแสงเฉพาะจุด เพิ่มความชัด (Clarity) ของพื้นผิว ช่วยเน้นให้เกิดการรับรู้ถึงบรรยากาศความรุนแรงในสถานที่นั้นได้ดีขึ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
A creative study on Photo-Media Art: Silent Violence comes from fear of violence in the physical and property insecurities that exist in the quiet capital city at night. This fear arises from the receiving of information and news on crimes, warnings and personal experience of the researcher. This study aims to learn the cause of fear for insecurity and create the photo-media art that reflects the violence in the silent night of Bangkok. Methodology: 1) Study the concepts, theories, previous studies; on perception, fear, criminal violence, information and news, and characteristics of areas where crime has occurred, theory of the sublime, photo arts and related artists to study the concepts, pattern, aesthetic and interpretation. 2) Explore the area and take pictures to select locations. 3) Produce the study. 4) Develop the study. 5) Analyze, discuss and conclude the result. The study of fear of violence pattern found that receiving ample amount of information increases the fear of crime and fear patterns correlate with location characteristics, which are categorized into 2 types: 1) fear of physical violence, pillage and robbery often occur in areas with buildings, houses, or general routes, and 2) fear of physical violence, robbery, assault, and rape usually occur in areas with desolate meadows, which is mostly feared by females. This study was done by 21 black and white cityscape photographs sized 70x150 cm taken from locations in 11 districts in Bangkok. The study found that the stitching technique to create a panorama broadens the view of perception and improves quality of the files; therefore, it can be printed in a larger size. This is because the size of narrow images limits the perception of the audience, whereas larger images make the audience feel like they are in the picture. The shooting to capture empty space, the use of eye-level viewpoint, light painting, and post production with spot-specific light addition and reduction, and surface clarity increment helped to enhance the awareness of the violence in the atmosphere of the locations.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุรัสวดี, วรพรรณ, "ศิลปะสื่อภาพถ่าย: ความรุนแรงในความสงัด" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 1967.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1967