Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

EFFECTS OF PILATES TRAINING PROGRAM ON LUNG FUNCTION AND RESPIRATORY MUSCLE STRENGTH IN THE ELDERLY WOMEN

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

วรรณพร ทองตะโก

Faculty/College

Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์การกีฬา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.1226

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายแบบพิลาทีสที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้สูงอายุเพศหญิง วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศหญิง อายุ 60-79 ปี จำนวน 28 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ฝึกพิลาทีส จำนวน 14 คน ได้รับการฝึกออกกำลังกายด้วยพิลาทีส ครั้งละ 60 นาที จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มที่ 2 กลุ่มควบคุม จำนวน 14 คน ใช้ชีวิตประจำวันปกติและไม่ได้รับการฝึกใดๆ ก่อนและหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการทดสอบตัวแปรทางสรีรวิทยาและสมรรถภาพทางกาย ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลก่อนการทดลองและหลังการทดลองโดยทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Pair t-test) และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยการหาค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มฝึกพิลาทีส มีความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ มีค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (Forced Vital Capacity; FVC) ปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วแรงในวินาทีที่ 1 (Forced Expiratory Volume in one second; FEV 1) การเดิน 6 นาที และค่าแรงดันการหายใจออกสูงสุด (Maximal expiratory pressure; MEP) เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ในกลุ่มฝึกออกกำลังกายด้วยพิลาทีสยังมีการเปลี่ยนแปลง ค่าแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด (Maximal inspiratory pressure; MIP) ที่มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะในกลุ่ม ในขณะที่ตัวแปรทางสรีรวิทยาและค่าปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที (Maximum voluntary ventilation; MVV) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกออกกำลังกายแบบพิลาทีสช่วยเพิ่มสมรรถภาพปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้สูงอายุเพศหญิงได้

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this study was to determine the effects of pilates training program on lung function and respiratory muscle strength in the elderly women. Twenty-eight female personnels of Chulalongkorn University aged 60-79 years were randomized into two groups: pilates group (PT; n=14) and control group (CON; n=14). Participants in PT group were required to complete three times a week of pilates training program for eight weeks (60 minutes/time). Those in CON group had normal daily living and were not received any training program. Both groups were tested physiological variables, lung function, respiratory muscle strength and flexibility variables before and after the experiment . Paired t-test and Independent t-test were used for data analysis. The results showed that after 8 weeks of pilates training program, there were no significant differences of physiological variables and FEV1 in both groups (p < .05). In addition, MEP, Flexibility, and 6MWT of PT group were significantly higher than pre-test and CON group (p < .05). In PT group, FVC in post-test was significantly higher than pre-test (p < .05). In conclusion, the present findings demonstrated that pilates training program had beneficial effects on lung function and respiratory muscle strength in the elderly women.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.