Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Sri Thanonchai Tales in Thai Contemporary Printed Media
Year (A.D.)
2017
Document Type
Thesis
First Advisor
ศิริพร ภักดีผาสุข
Faculty/College
Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)
Department (if any)
Department of Thai (ภาควิชาภาษาไทย)
Degree Name
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ภาษาไทย
DOI
10.58837/CHULA.THE.2017.1158
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการนำนิทานเรื่องศรีธนญชัยมาใช้ในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัยประเภทนิทานภาพและหนังสือการ์ตูนที่พบทั้งหมดในปัจจุบันจำนวน 8 เรื่อง และศึกษาพลวัตและบทบาทของนิทานเรื่องศรีธนญชัยที่ปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัยดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า นิทานเรื่องศรีธนญชัยในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัยจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ศรีธนญชัยในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัยที่ยังคงเค้าโครงเรื่องเดิม 2) ศรีธนญชัยในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัยที่มีการดัดแปลงและสร้างสรรค์บางส่วน 3) ศรีธนญชัยในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัยที่มีการสร้างสรรค์ใหม่ โดยมีลักษณะการนำองค์ประกอบนิทานเรื่องศรีธนญชัยมาใช้ในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัย 3 แนวทาง คือ 1) การคงองค์ประกอบเดิม เช่น อนุภาคเหตุการณ์สำคัญ อนุภาคตัวละครสำคัญ ความเป็นนิทานเจ้าปัญญา 2) การดัดแปลงองค์ประกอบ เช่น อนุภาคเหตุการณ์สำคัญ อนุภาคตัวละครสำคัญ แนวคิดสำคัญ 3) การเพิ่มเติมองค์ประกอบ เช่น อนุภาคตัวละครสำคัญ แนวคิดสำคัญ องค์ประกอบที่สร้างอารมณ์ขัน พลวัตในนิทานกลุ่มที่คงเค้าเรื่องเดิมมี 2 ประการ คือ 1) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากเรื่องศรีธนญชัยมาเป็นนิทานภาพและหนังสือการ์ตูน 2) การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาเพื่อให้สอดคล้องกับสื่อรูปแบบใหม่ ในนิทานกลุ่มที่มีการดัดแปลงและสร้างสรรค์บางส่วน และในนิทานกลุ่มที่มีการสร้างสรรค์ใหม่ พบพลวัต 3 ประการ คือ 1) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบเป็นหนังสือการ์ตูนและนิทานภาพ 2) การเปลี่ยนแปลงจุดประสงค์เพื่อเป็นสื่อความรู้ทางวิชาการและการสอนศีลธรรม 3) การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาเพื่อให้สอดคล้องกับสื่อรูปแบบใหม่และบริบทร่วมสมัย ได้แก่ การเพิ่มอนุภาคเหตุการณ์ใหม่เพื่อให้ความรู้ทางวิชาการและสั่งสอนคุณธรรม การเพิ่มอนุภาคตัวละครประกอบที่มีลักษณะแปลกใหม่ น่าสนใจ การเปลี่ยนรายละเอียดอนุภาคตัวละครเอกให้มีลักษณะที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อเรื่องที่สร้างสรรค์ใหม่ การเปลี่ยนรายละเอียดอนุภาคเหตุการณ์เพื่อนำเสนอเรื่องในแง่มุมใหม่ การยืมอนุภาคตัวละครจากวรรณคดีเรื่องอื่นมาใช้ และการยืมอนุภาคเหตุการณ์จากวรรณคดีเรื่องอื่นมาใช้ การปรับเปลี่ยนดังกล่าวสัมพันธ์กับการอนุรักษ์และเผยแพร่นิทานไทย และการสร้างจุดขายของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคในสังคม การปรับเปลี่ยนนี้ส่งผลให้นิทานเรื่องศรีธนญชัยในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัยมีบทบาทหน้าที่ในการให้ความเพลิดเพลิน บทบาทในการอบรมระเบียบสังคม และบทบาทในการเป็นสื่อการเรียนรู้สมัยใหม่
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This study aimed at examining the adaptive use of the folktales of Sri Thanonchai in Thai contemporary printed media, specifically in eight picture books and comic strips. In addition, this study also investigated the dynamics and roles of the folktales of Sri Thanonchai in Thai contemporary printed media. The analysis reveals that the folktales of Sri Thanonchai in Thai contemporary printed media can be classified into three groups: 1) the folktales of Sri Thanonchai that retain the original storyline; 2) the folktales of Sri Thanonchai that exhibit partial modification and creation; and 3) the folktales of Sri Thanonchai that display new creation. Moreover, it is found that there are three methods of incorporating elements of the folktales of Sri Thanonchai in Thai contemporary printed media, which consist of: 1) preservation of the original elements, such as motifs of major events, motifs of main characters, and the nature of trickster tale; 2) modification of elements, such as motifs of major events, motifs of characters, and themes; and 3) addition of elements, such as motifs of main characters, some key concepts, and some humorous elements. The dynamics in the folktales of Sri Thanonchai that retain the original storyline comprise two features: 1) modification from oral narrative to a picture book and a comic strip and 2) modification of the contents to correspond to new forms of media. Regarding the folktales of Sri Thanonchai that exhibit partial modification and creation and the folktales of Sri Thanonchai that display new creation, three features of dynamics are found: 1) modification from oral narrative to a picture book and a comic strip; 2) modification of the objectives to serve as a medium for disseminating academic knowledge and moral teachings; and 3) modification of the contents to correspond to new forms of media and contemporary contexts, which includes addition of new events to provide academic and moral knowledge, addition of supporting characters with unique and interesting attributes, modification of main characters attributes to be in accordance with the new objectives and storyline, modification of events to present the story in a new perspective, and incorporation of characters and events from other literatures. Such modifications correlate with the preservation and promotion of Thai folktales, as well as the development of unique selling points of the printed media to captivate the attention of consumers in the society. As a consequence of these modifications, it can be observed that the folktales of Sri Thanonchai in Thai contemporary printed media played a role in providing entertainment, reinforcing social rules, and serving as a modern form of educational media.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ภู่เพชร, อัญมาศ, "นิทานเรื่องศรีธนญชัยในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัย" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 1648.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1648