Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

LEGAL PROBLEMS OF LIFELONG-COMMITTED CONTRACT

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.958

Abstract

ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่บัญญัติในเรื่องของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตโดยเฉพาะ ซึ่งสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตนี้เป็นสัญญาที่ไม่มีชื่อ เป็นข้อตกลงที่อาจอยู่โดยลำพังหรือสามารถเอาไปประกอบกับเอกเทศสัญญาได้ โดยสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตที่มีในกฎหมายไทย ได้แก่ สัญญาเช่าทรัพย์สินตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า ตามมาตรา 541 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สัญญาประกันชีวิต ตามมาตรา 889 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการกล่าวถึงลักษณะของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตเอาไว้อย่างชัดแจ้ง อีกทั้ง ความสมบูรณ์ของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต ผลทางกฎหมายของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต ทำให้คู่สัญญามิอาจรับรู้และเข้าใจถึงลักษณะของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต ส่งผลให้คู่สัญญาได้รับความเสียหายและไม่ได้รับความคุ้มครองเท่าที่ควร วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงปัญหากฎหมายของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตในระบบกฎหมายไทย โดยเน้นทำการศึกษากฎหมายสัญญา ในหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 นอกจากนั้น ในบทบัญญัติกฎหมายต่างประเทศได้ทำการศึกษาบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต ตามประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศอิตาลี ค.ศ. 1942 โดยกฎหมายอิตาลีได้กำหนดถึงลักษณะทางกฎหมาย การเกิดของสัญญา ระยะเวลาของสัญญา วิธีการชำระหนี้ การเลิกสัญญา ผลของการเลิกสัญญา รวมทั้งเรื่องของหลักประกันและการชดใช้ค่าเสียหายเอาไว้ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับบทบัญญัติเรื่องสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต ตามประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ค.ศ. 2002 เช่นกัน เพียงแต่บทบัญญัติของกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการตีความและแบบของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตไว้ชัดเจนว่าให้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้นจะถือว่าสัญญาดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้ สำหรับการศึกษาเรื่องสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตในกฎหมายญี่ปุ่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศญี่ปุ่น ค.ศ. 1896 ซึ่งได้บัญญัติถึง ลักษณะทางกฎหมาย การเกิดของสัญญา ระยะเวลาของสัญญา วิธีการชำระหนี้ การเลิกสัญญา ผลของการเลิกสัญญา การชดใช้ค่าเสียหาย ไว้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงทางเลือกของเจ้าหนี้ในกรณีที่ความตายของเจ้าหนี้หรือบุคคลที่สามได้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ เจ้าหนี้หรือทายาทของเจ้าหนี้มีทางเลือก 2 ประการ ประการแรก คือ เจ้าหนี้หรือทายาทของเจ้าหนี้ขอเลิกสัญญา ประการที่สอง คือ เจ้าหนี้หรือทายาทของเจ้าหนี้ ขอให้สัญญายังดำเนินต่อไปโดยมาร้องขอต่อศาล ศาลอาจมีคำสั่งให้ลูกหนี้ยังคงต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควร จากการศึกษาพบว่า ในประเทศไทยยังไม่มีการกล่าวถึงลักษณะของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตไว้อย่างชัดแจ้งอีกทั้งบทบัญญัติของกฎหมายไทยในปัจจุบันยังมีไม่เพียงพอในการคุ้มครองคู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง ผู้เขียนจึงเสนอให้มีการบัญญัติกฎหมายเพื่อเข้ามากำหนดกรอบของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต โดยบัญญัติไว้เป็นเอกเทศสัญญาในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดถึงลักษณะทางกฎหมายของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตและผลทางกฎหมายของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต รวมทั้งกรอบในการพิจารณาค่าเสียหายในกรณีที่มีการเลิกสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต นอกจากนั้น ผู้เขียนยังได้เสนอให้มีการกำหนดเหตุในการเลิกสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต กำหนดถึงเหตุพิเศษในการเลิกสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตขึ้นมา ส่งผลให้การเลิกสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตจะต้องมีเหตุพิเศษเฉพาะกรณีจึงจะสามารถเลิกสัญญาได้ โดยไม่นำเหตุปกติของการเลิกสัญญามาบังคับใช้ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และลักษณะของข้อสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต ซึ่งต้องการให้สัญญาที่ทำขึ้นนั้นมีผลผูกพันไปตลอดชีวิตและเพื่อคุ้มครองคู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อไป

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Currently, Thailand has no specific provisions on lifelong-committed contract. This lifelong-committed contract is an innominate contract which may exist separately by itself or may be a part of a specific contract. Lifelong-committed contracts that are found in Thai laws are lifetime lease that lasts a lifetime of a tenant or of a landlord as per Section 541 of Thailand’s Civil and Commercial Code and life insurance contract as per Section 889 of the same law. Nevertheless, the characteristics of a lifelong-committed contract have not been distinctively specified. Moreover, the vagueness of a lifelong-committed contract’s validity and its legal effects prevents the parties from being aware and understanding its characteristics which results in a possibility of a party facing damages and not getting adequate protection. This thesis aims to study the legal problems of lifelong-committed contract in Thai legal system focusing on studying the law of contract as in accordance with the Civil and Commercial Code, the Unfair Contract Terms Act, B.E. 2540, and the Consumer Protection Act (No. 2), B.E. 2541. After studying foreign laws on lifelong-committed contracts, according to Italy’s Civil Code of 1942, the Italian Civil Code contains provisions on the legal characteristics, the conclusion of contract, the term of the contract, the performance of obligation, the termination of contract, the effects of termination as well as security and compensation. These are similar to the lifelong-committed contract provisions contained in the German Civil Code of 2002. However, the provisions in the German Civil Code providing interpretation and form of a lifelong-committed contract clearly stipulate that such contract shall be made in writing; otherwise, it shall be deemed invalid. A study on lifelong-committed contracts in Japanese law reveals that the Japan’s Civil Code of 1896 also has provisions on the legal characteristics, the conclusion of contract, the term of the contract, the performance of obligation, the termination of contract, the effects of termination, and compensation. Moreover, such Code provides alternates for an obligee in case death of an obligee or of a third party is due to fault on the part of an obligor. The obligee or his heir has 2 options: 1) the obligee or his heir may terminate the contract; 2) the obligee or his heir may continue the contract by requesting the court to order the obligor to comply with the contract until it completes the term deemed reasonable by the court. This study found that Thai laws have never expressly mentioned the characteristics of a lifelong-committed contract nor do they provide adequate protection for concerned parties. The author, therefore, would like to propose that there should be some provisions of law that give scope for lifelong-committed contract added to Thai Civil and Commercial Code as a specific contract. The legal characteristics, the legal effects, and the scope for claiming compensation for termination of a lifelong-committed contract should be added as well. Furthermore, the author would also like to propose that there should be some special causes for terminating a lifelong-committed contract. This implies that the termination of a lifelong-committed contract shall require, not an ordinary cause of contract termination, but a special one for a specific case for the contract to be terminated. These proposals aim to fulfill the objectives of and to take into account the nature of a lifelong-committed contract which is supposed to be binding for a lifetime and to protect and to bring justice to concerned parties.

Included in

Law Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.