Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Cost Utility Analysis of a Universal Newborn Hearing Screening Program and High Risk Newborn Hearing Screening Program in Bhumibol Adulyadej Hospital

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Preventive and Social Medicine (ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.761

Abstract

ความเป็นมา : การได้ยินบกพร่องในทารกแรกเกิดเป็นภาวะพิการลำดับที่ 3 ของโลก การศึกษานี้ วัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบต้นทุนต่อประสิทธิผลในการตรวจแต่ละประเภท เพื่อเลือกการตรวจที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด วัตถุประสงค์รองเพื่อศึกษาสัดส่วนของทารกการได้ยินบกพร่องและหาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การได้ยินในทารกผิดปกติ วิธีการศึกษา : เป็น Retroprospective Descriptive Study Design แบบ Cross-sectional Analogue ประเมินความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Evaluation) ของการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิด เก็บข้อมูลหลัก 2 ส่วน คือ ต้นทุนจากการตรวจแต่ละโปรแกรม และผลที่ได้จากการตรวจคัดกรองและการตรวจการยืนยันการวินิจฉัย ข้อมูลทั่วไปและปัจจัยเสี่ยง ผลการศึกษา : ทารกกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการตรวจการได้ยินจำนวน 1,134 คน ความชุกของภาวะสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 6.60 และทารกทั้งหมดในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชร้อยละ 4.50 ทารกที่ตรวจการได้ยินพบภาวะการได้ยินผิดปกติแบบรุนแรงและถาวรที่หูทั้งสองข้างมีจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 0.53 ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์ ได้แก่ มารดาติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ ศีรษะและใบหน้าผิดปกติ และน้ำหนักแรกคลอดน้อย ตรวจวัดเสียงสะท้อนจากเซลล์ขนในหูชั้นใน (Target OAE) เฉพาะทารกกลุ่มเสี่ยงมีต้นทุน 53,689.83 บาทเมื่อเทียบกับ 1 จำนวนปีที่มีการปรับคุณภาพชีวิต ต้นทุนอรรถประโยชน์ น้อยกว่า 100,000 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น จัดเป็นเทคโนโลยีที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด สรุป : ความชุกของภาวะสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 6.60 ทารกที่ตรวจการได้ยินพบภาวะการได้ยินผิดปกติแบบรุนแรงและถาวรที่หูทั้งสองข้างคิดเป็นร้อยละ 0.53 ความเสี่ยงที่สัมพันธ์ ได้แก่ การติดเชื้อ ศีรษะและใบหน้าผิดปกติ น้ำหนักน้อย การตรวจคัดกรองที่คุ้มค่าที่สุดคือตรวจการได้ยินเฉพาะทารกกลุ่มเสี่ยงโดยการตรวจเสียงสะท้อนจากเซลล์ขนในหูชั้นใน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Background: Newborn hearing impairment is the third major disability in the world. This study aimed to compare the cost-utility of each type of screening. To select the most cost-utility. Secondary objective was to study infant prevalence, hearing impairment, and correlation of risk factors for hearing loss in infants. Methods: Retroprospective Descriptive Study Design. Cross-sectional Analogue to assess economic evaluation of newborn hearing screening in each group. Maintain 2 main parts: the cost of each test. And the results of the screening and diagnostic tests. General Information and Risk Factors. Results: 1,134 samples were examined. Prevalence of hearing loss in newborn infants at risk 6.60% and prevalence of bilateral permanent severe hearing loss is 0.53 %. Risk factors include: mothernal infection, craniofacial anomaly and low birth weight . Cost of Only the risky infants test otoacoustic emission hearing had a cost of 53,689.83 baht, compared with one year of life quality adjustment. Will develop into a set of benefits. Conclusion: Prevalence of hearing loss in newborn infants at risk 6.60% and prevalence of bilateral permanent severe hearing loss is 0.53%. Risk factor include: craniofacial anomalies, low birth weight and mothernal infection. The most cost-effective screening test was audiometry for infants at risk for otoacoustic emission.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.