Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Virtual reality technology in communication and digital literacy among Thais

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

พนม คลี่ฉายา

Faculty/College

Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)

Degree Name

นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

นิเทศศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.739

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและอธิบายเทคโนโลยีการสื่อสารวีอาร์ (Virtual Reality; VR) ด้านความไร้เดียงสาของผู้ใช้งานที่มีต่อวีอาร์ ความเสี่ยงจากการใช้งาน การตอบสนองต่อสถานการณ์วีอาร์ และความรอบรู้ทางดิจิทัลที่มีต่อวีอาร์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง 400 คน อายุ 18-59 ปี ในกรุงเทพฯ และทดสอบใช้วีอาร์เนื้อหาแนวผจญภัยที่สร้างขึ้นสำหรับการวิจัย โดยผู้เข้าร่วมวิจัยเข้าถึงเนื้อหาผ่านแว่นวีอาร์และสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 13 คน นำผลการวิจัยสองส่วนมาสังเคราะห์และเสนอแนวทางเสริมสร้างความรอบรู้ทางดิจิทัลที่มีต่อวีอาร์ และตรวจสอบด้วยวิธีการประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์เกี่ยวกับวีอาร์น้อย มีความรู้เกี่ยวกับวีอาร์และรับรู้ผลกระทบด้านจิตใจจากการใช้วีอาร์ปานกลาง มีความเสี่ยงปานกลางที่จะมีใจจดจ่ออยู่กับความเป็นจริงเสมือน ละเลยสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และเข้าถึงเนื้อหาที่มีความเสี่ยง ด้านการตอบสนองต่อสถานการณ์วีอาร์ มีพฤติกรรมจมดิ่งอยู่กับสถานการณ์ในวีอาร์มาก ทำเหมือนที่ทำในชีวิตจริงปานกลาง แต่ละเลยต่อผู้อื่นน้อย ด้านความรอบรู้ทางดิจิทัลที่มีต่อวีอาร์พบว่า แยกแยะระหว่างโลกชีวิตจริงกับโลกวีอาร์ได้ปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ว่า ความไร้เดียงสาของผู้ใช้งานที่มีต่อวีอาร์ (β = 0.396) และความเสี่ยงจากการใช้งาน (β = -0.466) สามารถพยากรณ์ความรอบรู้ทางดิจิทัลที่มีต่อวีอาร์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกหลังทดสอบเนื้อหาวีอาร์พบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับวีอาร์ค่อนข้างน้อย ยังไม่ตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบของวีอาร์ด้านจิตใจมากนัก การรับรู้ความเสี่ยงของเนื้อหาความเป็นจริงเสมือนแตกต่างกันไปตามภูมิหลัง ผู้ใช้งานที่ยังมีประสบการณ์ในการใช้วีอาร์ไม่มากควรพิจารณาแนวเนื้อหาและประเมินความเสี่ยงที่มีต่อจิตใจและร่างกายก่อนตัดสินใจเข้าถึงเนื้อหา แนวทางเสริมสร้างความรอบรู้ทางดิจิทัลที่มีต่อวีอาร์ ได้แก่ 1) ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวีอาร์และเนื้อหาความเป็นจริงเสมือน 2) สร้างทักษะและความสามารถในการใช้วีอาร์อย่างปลอดภัยผ่านกิจกรรมเชิงปฏิบัติ 3) กำหนดนโยบายกำกับการเข้าถึงเนื้อหาความเป็นจริงเสมือนอย่างปลอดภัยและมีคุณภาพ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research explored VR communication technology, focusing on users' innocence, risks of use, responses to VR scenarios, and digital literacy. It employed a mixed-method approach, surveying 400 individuals aged 18-59 in Bangkok and testing adventure-themed VR content. Thirteen participants accessed VR content and participated in in-depth interviews. The findings were synthesized to propose guidelines for enhancing VR digital literacy, validated through the connoisseurship. The survey found that the sample groups have limited experience with VR but possess moderate knowledge and awareness of its psychological impacts. They have a moderate risk of becoming immersed in VR, neglecting physical surroundings, and accessing risky content. They show high immersion in VR scenarios, moderate real-life behavior alignment, and minimal neglect towards others. In terms of VR digital literacy, they moderately distinguish between real-life and virtual environments. The test results concluded that users' innocence towards VR (β = 0.396) and the risks associated with usage (β = -0.466) significantly predict digital literacy regarding VR at a statistically significant level of .05. After the interviews following VR testing, the findings showed that the participants have limited VR knowledge and experience. They are not fully aware of VR risks and psychological impacts. Risk perceptions varied widely based on individual backgrounds. Users with less VR experience should carefully assess content and its risks to mental and physical well-being before engagement. Strategies to enhance VR digital literacy: 1) Providing VR knowledge 2) Developing safe VR skills through practical activities 3) Implementing policies for secure VR content access.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.