Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Energy efficiency of spilt type air conditioner after replacing HCFC-22 with HFC-32 refrigerant

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

วิทยา ยงเจริญ

Second Advisor

วิรัช วิฑูรย์เธียร

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.591

Abstract

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามฤดูกาล (Cooling Seasonal Performance Factor: CSPF) ของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน ที่ความเร็วรอบคอมเพรสเซอร์คงที่ เมื่อเปลี่ยนสารทำความเย็น HCFC-22 เป็น HFC-32 ที่ขนาดทำความเย็น 2,638 3,517 5,276 และ 7,034 วัตต์ จากผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศที่เข้าร่วมโครงการ Thailand HPMP Stage I ทั้ง 11 ผู้ผลิต การวิเคราะห์เปรียบเทียบอ้างอิงตามมาตรฐาน ISO 16358-1 โดยใช้ชุดอุณหภูมิ (Outdoor Bin Temperature) ของประเทศไทย โดยกำหนดให้ภาระการทำความเย็น (Cooling Load) ขึ้นกับอุณหภูมิภายนอกเพียงอย่างเดียว พบว่าเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น HFC-32 มีค่า CSPF มากกว่า HCFC-22 ร้อยละ 4.99 การวิเคราะห์เปรียบเทียบ CSPF ของเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น HFC-32 โดยสมมตชั่วโมงการใช้งานต่อปี 3 กรณี ได้แก่ (1) กรณีใช้งาน 24 ชั่วโมงต่อวัน (2) กรณีใช้งาน 12 ชั่วโมง ในตอนกลางวัน (6.00-18.00 น.) และ (3) กรณีใช้งาน 12 ชั่วโมง ในตอนกลางคืน (18.00-6.00 น.) เทียบกับ CSPF ที่ใช้ช่วงอุณหภูมิตามค่าแนะนำ (Default) พบว่า CSPF ทั้ง 3 กรณี ต่ำกว่าค่า CSPF ที่ใช้ช่วงอุณหภูมิตามค่าแนะนำ เป็นผลมาจากการกระจายตัวของอุณหภูมิประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงที่มีอุณหภูมิสูง (อุณหภูมิเฉลี่ยทั้ง 3 กรณี มีค่าสูงกว่า) ส่วนสุดท้ายเป็นการวิเคราะห์ผลประหยัด พบว่า หากมีการใช้งานเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น HFC-32 แทน HCFC-22 ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่า กรณีใช้งาน 24 ชั่วโมงต่อวัน กรณีใช้งาน 12 ชั่วโมงต่อวัน ในตอนกลางวัน และกรณีใช้งาน 12 ชั่วโมงต่อวัน ในตอนกลางคืน ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า เฉพาะช่วงการใช้งาน 80.42 48.89 และ 31.53 ล้าน กิโลวัตต์.ชั่วโมง ต่อปี ตามลำดับ เทียบเท่าการลดคาร์บอนไดออกไซด์ เฉพาะช่วงการใช้งาน 46.81 28.46 และ 18.35 ล้าน กิโลกรัม คาร์บอนไดออกไซด์ ต่อปี ตามลำดับ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research aimed to study the Cooling Seasonal Performance Factor (CSPF) of a fixed speed split type air conditioner after replacing HCFC-22 with HFC-32 refrigerant at cooling capacity of 2,638 3,517 5,276 and 7,034 watts from 11 beneficiary enterprises under Thailand HPMP Stage I. This analysis is based on ISO 16358-1 using the Outdoor Bin Temperature of Thailand. The outdoor temperature is an only factor for cooling load analysis in this research. It found that air conditioners using HFC-32 refrigerant had CSPF value 4.99% higher than similar units using HCFC-22 refrigerant. This CSPF analysis compared 3 different operating hours which are (1) 24 hours per day, (2) 12 hours in daytime (6 am - 6 pm) and (3) 12 hours at night (6 pm - 6 am). The results show that the CSPF are lower than using the default temperature. It was observed that the temperature distributions of Thailand are higher than the default (the average temperature are higher than using the default temperature). The last section is an energy saving analysis. It was found that when using HFC-32 air-conditioner replacing HCFC-22 air-conditioner, it can save energy: in the case of 24 hours a day of use, 12 hours of use in daytime and 12 hours at night, can save energy 80.42 48.89 31.53 million kWh per year respectively, equivalent to 46.81 28.46 18.35 million kg CO2 per year, respectively.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.