Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

restorative justice and medical services in Bangkok metropolitan during COVID-19 outbreak (2563 - 2564 BC)

Year (A.D.)

2023

Document Type

Thesis

First Advisor

ฐิติยา เพชรมุนี

Faculty/College

Faculty of Political Science (คณะรัฐศาสตร์)

Department (if any)

Department of Sociology and Anthropology (ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม

DOI

10.58837/CHULA.THE.2023.268

Abstract

การศึกษาเชิงพรรณนานี้มุ่งศึกษาลักษณะ ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความขัดแย้ง รูปแบบการจัดการที่มิได้เข้ากระบวนการศาลจากโรงพยาบาลตติยภูมิในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในช่วงแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์ ตลอดจนโอกาสพัฒนาแนวคิดยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ โดยศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากหน่วยงานบริหารความขัดแย้งผ่านแบบสอบถาม และสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้ที่เคยได้รับความเสียหายในบริการทางการแพทย์ ผู้บริหารระบบและไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง ผลการศึกษาจากการสำรวจจากโรงพยาบาล 19 แห่ง พบว่าการให้ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม และปัญหาการสื่อสาร เป็นเหตุสำคัญสูงสุด (ร้อยละ 71.5) ผู้ไกล่เกลี่ยที่เคยอบรมหลักสูตรการเจรจาไกล่เกลี่ย หรือการบริหารความขัดแย้งมีเพียงส่วนน้อย (ร้อยละ 12.2) และไม่มีผู้รู้จักแนวคิดยุติธรรมสมานฉันท์ ผลสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่าความขัดแย้งนั้นเกี่ยวเนื่องกับผู้ป่วยเชื่อว่าความเสียหายนั้นเกิดจากการบริการ ความบกพร่องของสื่อสารหรือท่าทีของผู้ให้บริการ ส่วนอุปสรรคต่อความสำเร็จการยุติความขัดแย้งที่สำคัญ คือ ผู้บริหารความขัดแย้งขาดอำนาจตัดสินใจ แสดงออกไม่จริงใจและไม่เป็นกลาง ผู้ให้บริการทางการแพทย์ที่ไม่แสดงความเห็นใจ และรูปแบบการเยียวยาที่ไม่ตรงความต้องการกับผู้เสียหาย สอดคล้องกับกรณียุติความขัดแย้งสำเร็จพบว่าคณะผู้เสียหายได้รับเยียวยาเพียงพอ ได้รับการสื่อสารที่เข้าใจและเข้าหาสม่ำเสมอ ดังนั้นผู้บริหารควรร่วมบริหารความขัดแย้ง ให้ความสำคัญกับภาระงานและส่งเสริมพัฒนาทักษะผู้ปฏิบัติ รวมทั้งนำหลักยุติธรรมสมานฉันท์มาประยุกต์ใช้ ที่มุ่งเน้นเยียวยาให้อภัยและนำไปสู่ยุติความขัดแย้งได้

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This study explores conflict characteristics and management strategies that have not entered the primary juridical process. Conducted during the COVID-19 epidemic in tertiary care units in Bangkok and surrounding areas, the research sheds light on the potential application of restorative justice. Data collection involved questionnaires and in-depth interviews with individuals involved in medical disputes. Analysis of 19 hospital surveys revealed that inappropriate information provision and communication problems accounted for the majority of conflict-related issues (71.5%). Notably, only minority of mediators (12.2%) had formal training in mediation or conflict management, and none were familiar with the concept of restorative justice. In-depth interviews further highlighted that conflicts were associated to clients' doubts about the service, resulting in damages and communication pitfalls, or issues related to the providers' attitudes. Factors such as a lack of decision power, insincere mediation, unsympathetic service providers, and mismatched remedies should be considered in conflict resolutions. Successful reconciliation is linked with providing complainants with sufficient remedies and establishing successful, consistent communication. Executives are encouraged to actively participate in the management, prioritize workload considerations, facilitate skills training for mediators, and apply restorative justice principles, emphasizing a strategy focused on forgiveness.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.