Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
SIMULTANEOUS HYDROGEN PRODUCTION AND WASTEWATER TREATMENT FROM BIODIESEL WASTEWASTER USING PHOTOCATALYST
Year (A.D.)
2017
Document Type
Thesis
First Advisor
มะลิ หุ่นสม
Faculty/College
Faculty of Science (คณะวิทยาศาสตร์)
Department (if any)
Department of Chemical Technology (ภาควิชาเคมีเทคนิค)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เคมีเทคนิค
DOI
10.58837/CHULA.THE.2017.573
Abstract
งานวิจัยนี้ศึกษาการผลิตแก๊สไฮโดรเจนและการบำบัดน้ำเสียโดยพร้อมกันจากน้ำเสียไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นการวิเคราะห์สมบัติของน้ำเสียไบโอดีเซลก่อนและหลังการปรับสภาพขั้นต้น พบว่าการปรับสภาพขั้นต้นทำให้น้ำเสียมีคุณภาพดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำเสียไบโอดีเซลก่อนปรับสภาพ ส่วนที่สองเป็นการศึกษาผลของอุณหภูมิต่อวัฏภาคและสมบัติของไทเทเนียมไดออกไซด์ โดยแคลไซด์ไทเทเนียมไดออกไซด์วัฏภาคผสมเชิงพาณิชย์ (TP25) ภายใต้ความดันบรรยากาศ ที่อุณหภูมิ 400 - 900 องศาเซลเซียส พบว่าไทเทเนียมไดออกไซด์เริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงจากวัฏภาคอนาเทสเป็นวัฏภาครูไทล์ที่อุณหภูมิมากกว่า 600 องศาเซลเซียส จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นวัฏภาครูไทล์อย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิมากกว่า 750 องศาเซลเซียส ตัวเร่งปฏิกิริยาทุกชนิดมีรูพรุนขนาดกลาง มีค่าช่องว่างพลังงาน 3.06 - 3.18 อิเล็กตรอนโวลต์และมีค่าความเป็นกรด - เบส ที่ประจุเป็นศูนย์ 6.1 - 6.8 และส่วนที่สามเป็นการศึกษาภาวะที่เหมาะสมกับกัมมันตภาพของตัวเร่งปฏิริยาต่อการผลิตแก๊สไฮโดรเจนและการบำบัดน้ำเสียโดยพร้อมกัน พบว่าภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตแก๊สไฮโดรเจนและการบำบัดน้ำเสียโดยพร้อมกัน คือการใช้ไทเทเนียมไดออกไซด์วัฏภาคผสมชนิด T400 ปริมาณ 4 กรัม/ลิตร โดยใช้สารละลายที่มีอัตราส่วนการเจือจางน้ำเสีย 3.3 เท่า ความเป็นกรด - เบสของสารละลาย 6 และค่าความเข้มแสง 4.76 มิลลิวัตต์/ตารางเซนติเมตร
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The research was experimented on simultaneously hydrogen production and wastewater treatment from biodiesel wastewater using photocatalyst. It was separated into three parts. The first part was about the analysis of biodiesel wastewater properties before and after the pretreatment step. It was found that the quality of biodiesel wastewater was improved after the pretreatment step. Then, the research was carried out to study the effect of calcination temperature on phase transformation of TiO2 and its characteristics. TP25 was calcined in air at the temperature between 400 - 900 oC. The transformation of anatase to rutile phases was begun when the temperature was higher than 600 oC and consequently the rutile phase was fully observed at the temperature equal to or higher than 750 oC. According to the thermal preparation, all of prepared-catalysts were characteristically as microporous structures having the band gap energy of 3.06 - 3.18 eV and point of zero charge of 6.1 - 6.8. The last part was to observe the optimum condition. All of the performances were taken into the consideration and then finalized that the condition of 4 g/L of T400 in the dilute solution of 3.3 which had pH 6 and exposing to light density of 4.76 mW/cm2 was the suitable optimum condition for this research.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ภารสงัด, พิมพ์สุดา, "การผลิตแก๊สไฮโดรเจนและการบำบัดน้ำเสียโดยพร้อมกันจากน้ำเสียไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 1063.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/1063