Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
การเหยียดเพศวิถีโดยนัยและปัญหาสุขภาพจิต : โมเดลการวัดแบบมีเงื่อนไขโดยมีการสนับสนุนเพศวิถีโดยนัยเป็นตัวแปรกำกับ
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
Panrapee Suttiwan
Second Advisor
Susan E. Walch
Faculty/College
Faculty of Psychology (คณะจิตวิทยา)
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Discipline
Psychology
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.6
Abstract
Background: Mental health disparities existed globally for sexual minority populations compared to heterosexuals. Experiences of subtle discrimination called microaggressions contributed to poor mental health outcomes. Conversely, microaffirmations may buffer these negative effects. To further study these processes among lesbian, gay, bisexual, queer/questioning (LGBQ+) Thais, culturally validated tools were needed to quantify microaggression and microaffirmation experiences within Thailand's high-context culture. Objectives: This two-part study aimed to: 1) develop and validate Thai language scales measuring microaggressions and microaffirmations related to sexual orientation; and 2) test a conceptual moderated mediation model elucidating relationships between microaggressions, microaffirmations, sexual orientation concealment, internalized heterosexism, and mental health concerns (stress, anxiety, depression). Study Summary: Study One - Utilizing a three-phase mixed-methods approach involving a literature review, expert consultation, and in-depth interviews with LGBQ+ Thais, scale items were developed to reflect the cultural context. Rigorous psychometric analyses, including exploratory and confirmatory factor analyses, refined the item pools and confirmed the factor structures of the Thai Sexual Orientation Microaggressions Scale (T-SOMG) and the Thai Sexual Orientation Microaffirmations Scale (T-SOMF) (total N = 384). The final 18-item T-SOMG contains two subscales assessing Interpersonal and Environmental Microaggressions (McDonald's omega; ωT = 0.92 for both). The 13-item T-SOMF comprises two subscales: Interpersonal and Environmental Microaffirmations (ωT = 0.90 and 0.92, respectively). All of these findings exhibit strong psychometric properties, characterized by excellent reliability, robust convergent validity, clear discriminant validity, and a well-fitting model. Study Two - Using a separate community sample of 307 Thai sexual minorities, distinct from the participants in Study One, the newly developed scales were completed, along with standardized measures of internalized heterosexism, concealment, depression, anxiety, and stress. Advanced statistical modeling using serial mediation and conditional process analysis was conducted to test the hypothesized conceptual model. Results support the hypothesized model wherein microaggressions both directly and indirectly (via increased sexual orientation concealment) impacted mental health concerns. Microaggressions accounted for 31.6% of the variance in mental health. The path from microaggressions to concealment was mediated by internalized heterosexism. Microaffirmations mitigate the direct connection between microaggressions and mental health problems. As levels of microaffirmations increase, this relationship becomes less significant. Conclusion: This two-part study provides rigorous evidence for the reliability and validity of the T-SOMG and T-SOMF as culturally appropriate tools for assessing experiences among Thai LGBQ+ individuals. Findings also contribute significantly to the scientific understanding of minority stress processes and the protective effects of microaffirmations in this population.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
ความเป็นมา : ปัญหาสุขภาพจิตของกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ+ มีแนวโน้มจะแย่กว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มชายรักหญิงหรือหญิงรักชาย การได้รับประสบการณ์การเหยียดเพศวิถีโดยนัย ที่มีความไม่ชัดเจน ไม่ตรงไปตรงมา โดยผู้กระทำตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ อาจจะส่งผลให้บุคคลกลุ่มนี้เกิดปัญหาสุขภาพจิตได้ และในทางกลับกันการได้รับการสนับสนุนเพศวิถีโดยนัยก็น่าจะช่วยป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้เช่นกัน ในการศึกษากระบวนการเหล่านี้จึงจำเป็นต้องพัฒนามาตรวัดที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาและเหมาะสมสำหรับมิติวัฒนธรรมไทย วัตถุประสงค์ : วิทยานิพนธ์นี้ประกอบด้วยไปด้วยสองการศึกษาซึ่งมีเป้าหมายเพื่อ : 1) พัฒนาและตรวจสอบมาตรวัดภาษาไทยที่วัดการเหยียดเพศวิถีโดยนัย (T-SOMG) และการสนับสนุนเพศวิถีโดยนัย (T-SOMF) และ 2) ทดสอบโมเดลการวัดแบบมีเงื่อนไขที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเหยียดเพศวิถีโดยนัย การสนับสนุนเพศวิถีโดยนัย การปกปิดเพศวิถี ความเชื่อทางลบต่อตนเองเรื่องเพศวิถี และปัญหาสุขภาพจิต (ความเครียด อาการวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า) ผลการศึกษา : การศึกษาที่ 1 เป็นขั้นตอนการพัฒนามาตรวัดการเหยียดเพศวิถีโดยนัย (T-SOMG) และการสนับสนุนเพศวิถีโดยนัย (T-SOMF) ด้วยการวิเคราะห์ที่ผสมผสานระหว่างการทบทวนวรรณกรรม การปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ และการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลกับกลุ่มตัวอย่าง 20 คนที่เป็น LGBQ+ เพื่อพัฒนาข้อกระทงสำหรับมาตรวัด หลังจากนั้นนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและองค์ประกอบเชิงยืนยัน ตรวจสอบความตรงเชิงเหมือนและความตรงเชิงจำแนก รวมทั้งวิเคราะห์ความเที่ยงด้วยการวิเคราะห์ความสอดคล้องภายในด้วยสัมประสิทธิ์โอเมก้า (ωT) โดยเก็บข้อมูลจากผู้เข้าร่วมการศึกษา 384 คน ได้มาตรวัดการเหยียดเพศวิถีโดยนัย (T-SOMG) จำนวน 18 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การเหยียดเพศวิถีโดยนัยแบบตัวต่อตัว 9 ข้อ และการเหยียดเพศวิถีโดยนัยแบบบรรยากาศทั่วไป 9 ข้อ ค่าสัมประสิทธิ์โอเมก้าอยู่ที่ 0.92 ทั้งสององค์ประกอบ และมาตรวัดการสนับสนุนเพศวิถีโดยนัย (T-SOMF) จำนวน 13 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การสนับสนุนเพศวิถีโดยนัยแบบตัวต่อตัว 8 ข้อ และการสนับสนุนเพศวิถีโดยนัยแบบบรรยากาศทั่วไป 5 ข้อ มีค่าสัมประสิทธิ์โอเมก้าอยู่ที่ 0.90 และ 0.92 ตามลำดับ โดยทั้งสองมาตรวัดได้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาทั้งความตรงและความเที่ยงในเกณฑ์ดีมาก การศึกษาที่ 2 เก็บข้อมูลกับผู้เข้าร่วมการศึกษา 307 คน โดยใช้มาตรวัดการเหยียดเพศวิถีโดยนัย (T-SOMG) และการสนับสนุนเพศวิถีโดยนัย (T-SOMF) ที่พัฒนาขึ้นจากการศึกษาที่ 1 พร้อมกับมาตรวัดมาตรฐานของตัวแปรต่าง ๆ ได้แก่ การปกปิดเพศวิถี ความเชื่อทางลบต่อตนเองเรื่องเพศวิถี และปัญหาสุขภาพจิต (ความเครียด อาการวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า) วิเคราะห์สมมติฐานงานวิจัยด้วยโมเดลการวัดแบบมีเงื่อนไข โดยมีการปกปิดเพศวิถี และความเชื่อทางลบต่อตนเองเรื่องเพศวิถี เป็นตัวแปรส่งผ่าน และการสนับสนุนทางเพศวิถีโดยนัย เป็นตัวแปรกำกับ ผลการวิเคราะห์โมเดลการวัดแบบมีเงื่อนไข พบว่า การเหยียดเพศวิถีโดยนัยส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสุขภาพจิต โดยอธิบายความแปรปรวนของปัญหาสุขภาพจิตได้ถึงร้อยละ 31.6. นอกจากนี้พบว่า ความเชื่อทางลบต่อตนเองเรื่องเพศวิถี เป็นตัวแปรส่งผ่านแบบอนุกรมลำดับที่ 1 และการปกปิดเพศวิถีเป็นตัวแปรส่งผ่านลำดับที่ 2 กล่าวคือ เมื่อบุคคลเจอเหตุการณ์การเหยียดเพศวิถีโดยนัย จะส่งผลให้มีความเชื่อทางลบต่อตนเองเรื่องเพศวิถีและทำให้เกิดการปกปิดเพศวิถีของตนเอง และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต รวมถึงพบว่าการสนับสนุนเพศวิถีโดยนัย เป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การเจอการเหยียดเพศวิถีโดยนัยกับปัญหาสุขภาพจิต และอาจกล่าวได้ว่า เมื่อบุคคลได้รับการสนับสนุนเพศวิถีโดยนัยบ่อยครั้งจะทำให้ความสัมพันธ์ทางตรงเชิงลบระหว่างการเหยียดเพศวิถีโดยนัยและปัญหาสุขภาพจิตเบาบางลง แต่การสนับสนุนเพศวิถีโดยนัยไม่ได้กำกับความสัมพันธ์ระหว่างการเหยียดเพศวิถีโดยนัยและตัวแปรส่งผ่านทั้งสองตัวแปร สรุป : การศึกษานี้ได้พัฒนามาตรวัดการเหยียดเพศวิถีโดยนัย (T-SOMG) และการสนับสนุนเพศวิถีโดยนัย (T-SOMF) ที่เหมาะสมทางวัฒนธรรม เพื่อการประเมินประสบการณ์ของกลุ่ม LGBQ+ คนไทย ผลจากการวิเคราะห์โมเดลการวัดแบบมีเงื่อนไขช่วยส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทางสุขภาพจิตของกลุ่มประชากรนี้ และเน้นถึงปัญหาจากการเหยียดเพศวิถีโดยนัยที่ส่งผลลบต่อสุขภาพจิต รวมถึงความสำคัญของการสนับสนุนเพศวิถีโดยนัย ที่ช่วยลดอิทธิพลทางลบจากการเหยียดเพศวิถีโดยนัยต่อปัญหาสุขภาพจิตได้
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Yodlorchai, Rapinpat, "Sexual orientation microaggressions and mental health concerns: a conditional process modeling of protective effects of microaffirmations" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 10382.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/10382