Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The branding innovation of mens streetwear from borassus fruit fibres for zennials generation by using circular design
Year (A.D.)
2023
Document Type
Thesis
First Advisor
บุญอารักษ์ รักษาวงษ์
Faculty/College
Faculty of Fine and Applied Arts (คณะศิลปกรรมศาสตร์)
Department (if any)
Department of Creative Arts (ภาควิชานฤมิตศิลป์)
Degree Name
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นฤมิตศิลป์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2023.171
Abstract
นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษสตรีทแวร์ จากสิ่งทอเส้นใยตาล สำหรับกลุ่มเซนเนียลเจเนเรชั่น ด้วยแนวคิดการออกแบบหมุนเวียน มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาสิ่งทอเส้นใยตาล เป็นการวิจัยเชิงทดลองและเชิงคุณภาพ โดยเริ่มจากศึกษาคุณสมบัติคุณลักษณะของเส้นใยตาลที่ได้จากการเหลือทิ้งทางการเกษตรและนำมาทดลองแปรรูปเพื่อเป็นสิ่งทอ จากการศึกษาพบว่าคุณลักษณะของเส้นใยตาลมีความยาว 7-14 เซนติเมตร มีสีเหลืองเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และมีความกระด้าง จากการทดลองสามารถทำให้เส้นใยมีความนุ่มขึ้นด้วยการนำไปต้มกับน้ำขี้เถ้าในปริมาณ ขี้เถ้า 500กรัม น้ำ 15 ลิตร ต่อเส้นใย 300 กรัม และนำมาทอผสมกับฝ้ายเพื่อเป็นสิ่งทอโดยใช้อัตราส่วนดังนี้ อัตราส่วนที่ 1 เส้นใยตาล 50% ผสมฝ้าย 50% สิ่งทอที่ได้มีควากระด้างมาก อัตราส่วนที่ 2 เส้นใยตาล 30% ผสมฝ้าย 70% สิ่งทอที่ได้มีความกระด้างน้อยลง และอัตราส่วนที่ 3 เส้นใยตาล 15% ผสมฝ้าย 85% สิ่งทอที่ได้มีความนุ่มอย่างเห็นได้ชัดเจน สามารถนำไปผลิตเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า หมวก รองเท้า นอกจากนี้สิ่งทอจากเส้นใยตาลที่ได้สามารถเป็นวัสดุทางเลือกที่ช่วยลดขยะทางการเกษตร ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเป็นวัสดุทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of Creative innovation of men's streetwear brand from Borassus fruit fiber for the Zennials with a circular design concept aimed to discover the potential approach for developing Borassus fruit fiber. It was experimental and qualitative research The researcher studied the properties of Borassus fruit fiber from agricultural waste and experimentally processed it into textiles. The findings revealed that the properties of Borassus fruit fiber were 7-14 cm long and yellow. It would turn brown when it dried and it had high hardness. In experiments, the fibers can be softened by boiling them with 500 g of ash and 15 liters of water per 300 g of fiber. It could be woven with cotton for being textiles by 3 ratios as follows: Ratio 1: 50% Borassus fruit fiber mixed with 50% cotton found that the textile was higher in hardness. Ratio 2: 30% Borassus fruit fiber mixed with 70% cotton found that the textile was lower in hardness. Ratio 3: 15% Borassus fruit fiber mixed with 85% cotton found that the textile was obviously soft and could be processed into lifestyle products such as clothes, bags, hats, and shoes. Thus, Borassus fruit fiber can be an alternative material that reduces agricultural waste and increases the efficient use of resources. Moreover, it is an environmentally friendly alternative material that aligns with the circular economy.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เมืองรวมญาติ, วรภัทร์, "นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษสตรีทแวร์จากสิ่งทอเส้นใยตาลสำหรับกลุ่มเซนเนียลเจเนอเรชัน ด้วยแนวคิดการออกแบบหมุนเวียน" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 10288.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/10288