•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลปัจจัยสมรรถนะที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนและการรับรู้เป้าประสงค์จุฬาฯ ของนิสิต ข้อมูลจากแบบสอบถามที่มีคุณภาพ (สัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบอัลฟ่าทั้งฉบับเป็น 0.952) ของนิสิต 10 คณะ จำนวน 216 คนถูกวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ One-sample t-test การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และ การวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1) ในภาพรวม มี 1 ใน 4 ปัจจัยสมรรถนะของนิสิตอยู่ในระดับสูง (Mean ? 70% และ P < .05) คือ ทัศนคติต่อการเรียน ส่วนสมรรถนะด้านทักษะการปฏิบัติงาน และ พฤติกรรมการเรียน อยู่ในระดับปานกลาง และ สมรรถนะด้านการจัดการความอยู่ในระดับต่ำ ขณะเดียวกันพบว่า ปัจจัยผลลัพธ์การเรียน และ การรับรู้เป้าประสงค์มหาวิทยาลัยของนิสิตอยู่ในระดับสูง (P < .05) 2) องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า ในด้านพฤติกรรมการเรียนมี 2 ใน 3 องค์ประกอบสำคัญ ด้านทัศนคติต่อการเรียนมี 2 ใน 3 องค์ประกอบสำคัญ ด้านการจัดการความรู้มี 4 ใน 6 องค์ประกอบสำคัญ ด้านทักษะการปฏิบัติงานมี 1 ใน 5 องค์ประกอบสำคัญ และ ผลลัพธ์การเรียนมี 2 ใน 3 องค์ประกอบสำคัญ ตามลำดับ ส่วนการรับรู้เป้าประสงค์มหาวิทยาลัยของนิสิต ไม่มีองค์ประกอบใดเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างชัดเจน และ 3) ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล พบว่า แบบจำลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าสถิติคือ Chi-Square = 309.16, df = 288, P-Value = .18711, RMSEA = 0.039 สรุปได้ว่า แบบจำลองมีความเหมาะสม สามารถอธิบายความสัมพันธ์เชิงเหตุผลได้ดังนี้ 3.1) ผลลัพธ์การเรียนของนิสิต ได้รับอิทธิพลโดยตรงมาจากสมรรถนะด้านทักษะการปฏิบัติ และ ทัศนคติต่อการเรียน ในระดับต่ำ ขณะเดียวกันได้รับอิทธิพลทางอ้อมมาจากพฤติกรรมการเรียน ทัศนคติต่อการเรียน และ การจัดการความรู้ โดยส่งผ่านด้านการจัดการความรู้ และ/หรือ ทักษะการปฏิบัติของนิสิตในระดับต่ำ เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยทั้งสี่ดังกล่าวสามารถทำนายผลลัพธ์การเรียนของนิสิตได้ร้อยละ 6.50 (P >.05) และ 3.2) การรับรู้เป้าประสงค์มหาวิทยาลัยของนิสิต ได้รับอิทธิพลโดยตรงระดับต่ำทุกปัจจัยมาจาก สมรรถนะด้านทัศนคติต่อการเรียน ทักษะการปฏิบัติงาน พฤติกรรมการเรียน และ การจัดการความรู้ และได้รับอิทธิพลทางอ้อมในระดับต่ำมาจากพฤติกรรมการเรียน การจัดการความรู้ และ ทัศนคติต่อการเรียน โดยส่งผ่านทักษะการปฏิบัติงาน และ/หรือ การจัดการความรู้ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยทั้งหมดดังกล่าวสามารถทำนายการรับรู้เป้าประสงค์มหาวิทยาลัยของนิสิตจุฬาฯ ได้ร้อยละ 65.50 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.44.4.13

First Page

188

Last Page

205

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.