Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารงานวิชาการและความเป็นพลเมืองดิจิทัล 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา 3) สร้างกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้แก่ โรงเรียน จำนวน 306 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการและครูวิชาการ เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินกลยุทธ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิด 1.1) การบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย (1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (2) จัดการเรียนการสอน และ (3) การวัดและประเมินผล และ 1.2) ความเป็นพลเมืองดิจิทัล ประกอบด้วย (1) การมีความเคารพต่อตนเองและผู้อื่น (2) การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง และ (3) การมีความรับผิดชอบและการรักษาความปลอดภัย 2. ความต้องการจำเป็นที่ต้องพัฒนาลำดับแรก 2.1) ด้านการบริหารงานวิชาการได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และ 2.2) ด้านความเป็นพลเมืองดิจิทัล ได้แก่ การมีความรับผิดชอบและการรักษาความปลอดภัย 3. การสร้างกลยุทธ์ 3.1) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา มี 3 กลยุทธ์หลัก 14 กลยุทธ์รอง และ 79 วิธีดำเนินการ 3.2) ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.51.1.5
First Page
1
Last Page
13
Recommended Citation
ยอดยิ่ง, จุฬาลักษณ์; ผู้รุ่งเรือง, สุภาพ; and ถีอาสนา, ศิริ
(2023)
"กลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา,"
Journal of Education Studies: Vol. 51:
Iss.
1, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.51.1.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol51/iss1/5