Abstract
การสร้างสุขภาพจิตที่ดีในโรงเรียนโดยการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตให้แก่บุคลากรทางการศึกษา เช่น ผู้บริหารสถานศึกษา ครูประจำชั้น ครูแนะแนว และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันและส่งเสริม การเกิดปัญหาสุขภาพจิตและช่วยลดการอาการของโรคจิตเวชที่รุนแรงในวัยรุ่นได้ นอกจากนี้การมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตในโรงเรียนยังสามารถช่วยลดการตีตราในวัยรุ่นที่มีปัญหาสุขภาพจิต และช่วยเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมและทันท่วงที ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพจิตโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (school-based mental health) จึงเป็นที่นิยมในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรด้านสุขภาพจิตและข้อจำกัดหลายด้านซึ่งส่งผลให้วัยรุ่นไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตได้ ซึ่งการส่งเสริมสุขภาพจิตในโรงเรียนนั้นมีกรอบในการปฏิบัติอยู่ 4 ระดับคือ 1) สร้างลักษณะพื้นฐานของโรงเรียนที่มีวัฒนธรรมและมีสภาพแวดล้อมที่ดีต่อการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตที่ดีของวัยรุ่น (school ethos) 2) การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ โดยกำหนดโครงสร้างนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมและช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการด้านสุขภาพจิต (whole-school organisation) 3) ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนคือการส่งเสริม พัฒนา การป้องกันและแก้ปัญหา (pastoral provision) และ 4) การปฏิบัติในห้องเรียนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพจิตให้เกิดประสิทธิภาพ (classroom practice)
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.51.1.2
First Page
1
Last Page
13
Recommended Citation
สุปรียาพร, นันทกา
(2023)
"สุขภาพจิตโรงเรียน : แนวทางการส่งเสริมสุขภาพจิตวัยรุ่น,"
Journal of Education Studies: Vol. 51:
Iss.
1, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.51.1.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol51/iss1/2