Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างนวัตกรรมชุดการสอน “หนังสือเสียง สำเนียงภาษาไทย”เพื่อส่งเสริมการพูดภาษาไทย สำหรับนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ 2) ศึกษาผลการใช้นวัตกรรม ฯ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ต่อการใช้นวัตกรรมฯ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีปัญหาการพูดภาษาไทย จำนวน 20 คน ประกอบด้วย นักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ล่าหู่ อาข่า ปกาเกอะญอ และม้ง กลุ่มชาติพันธุ์ละ 5 คน โดยแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์เป็นตัวแทนของผู้ที่มีปัญหาด้านการออกเสียงพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้าย วรรณยุกต์ และพยัญชนะ ควบกล้ำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบความสามารถในการพูดภาษาไทย 2) นวัตกรรมชุดการสอน “หนังสือเสียง สำเนียงภาษาไทย” และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ต่อนวัตกรรมฯ ผลการวิจัย ทำให้ได้นวัตกรรม“หนังสือเสียง สำเนียงภาษาไทย” ที่ประกอบด้วยชุดฝึก 5 ชุด คือ (1) ชุดฝึกอวัยวะใน การออกเสียงภาษาไทย (2) ชุดฝึกพูดภาษาไทยจากคำ (3) ชุดฝึกพูดภาษาไทยจากประโยค (4) ชุดฝึกพูดภาษาไทยจากเรื่องเล่าในท้องถิ่น และ (5) ชุดประเมินการพูดภาษาไทย โดยพบว่า 1) นวัตกรรมฯ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.80/86.00 2) ความสามารถในการพูดภาษาไทยของนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์หลังใช้นวัตกรรมฯ มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 25.75 3) นักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์มีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมฯ ในระดับมากที่สุด
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.50.4.4
First Page
1
Last Page
14
Recommended Citation
สมมิตร, พงศกร
(2022)
"นวัตกรรมชุดการสอนเพื่อส่งเสริมการพูดภาษาไทย สำหรับนักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์,"
Journal of Education Studies: Vol. 50:
Iss.
4, Article 5.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.50.4.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol50/iss4/5