Abstract
รอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษาเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับเด็ก การสนับสนุนการปรับตัวที่ราบรื่นสำหรับเด็กในช่วงการเปลี่ยนผ่านนี้จึงมีความสำคัญมาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบความพร้อมของเด็กที่กำลังจะขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตัวอย่างวิจัยคือครูประจำชั้นอนุบาล 3 (อายุ 5 – 6 ปี) ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล 3 (อายุ 5 – 6 ปี) และผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามความคาดหวังที่มีต่อความพร้อมของเด็กที่กำลังจะขึ้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบความพร้อมทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การเจริญเติบโตและการใช้งานส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทักษะทางวิชาการขั้นต้น ทักษะทางสังคม ทักษะการดูแลและช่วยเหลือตนเอง คุณลักษณะและพื้นนิสัยส่วนบุคคล และการควบคุมกำกับตนเอง ได้รับการยืนยันในกลุ่มครูว่ามีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยเมตริกซ์ความแปรปรวน-ความแปรปรวนร่วมของข้อมูลเชิงประจักษ์สอดคล้องกับทฤษฎี (c2 (8, N=204)= 14.690, p=.0655, (c2/df = 1.836, RMSEA=0.085, SRMR=0.004) เช่นเดียวกันกับกลุ่มผู้ปกครองที่เมตริกซ์ความแปรปรวน-ความแปรปรวนร่วมของข้อมูลเชิงประจักษ์สอดคล้องกับทฤษฎี (c2(5, N=2,861) = 19.582, p = .002, c2/df = 3.916, RMSEA = 0.032, SRMR = 0.001
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.50.4.9
First Page
1
Last Page
13
Recommended Citation
สายฟ้า, ยศวีร์
(2022)
"การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความพร้อมของเด็กที่กำลังขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1,"
Journal of Education Studies: Vol. 50:
Iss.
4, Article 10.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.50.4.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol50/iss4/10