Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการไม่อดทนต่อความไม่แน่นอนและสุขภาวะทางจิตของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี และความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสองตัวแปร ตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 584 คน ที่อาสาเข้าร่วมตอบแบบสอบถามออนไลน์ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการไม่อดทนต่อความไม่แน่นอนฉบับสั้น (IUS-12) และแบบประเมินสุขภาวะทางจิตของ Ryff (RSPWB) ที่ประเมิน 6 มิติ ได้แก่ การยอมรับตนเอง ความเจริญส่วนบุคคลเป้าหมายในชีวิต ความสัมพันธ์ทางบวกกับผู้อื่น การจัดการสภาพแวดล้อม และมิติอิสระแห่งตน สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า การไม่อดทนต่อความไม่แน่นอนมีคะแนนรวมเฉลี่ยระดับปานกลาง สุขภาวะทางจิตมีคะแนนรวมเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละมิติ พบว่า มิติการยอมรับตนเอง มิติความเจริญส่วนบุคคล มิติเป้าหมายในชีวิตมิติความสัมพันธ์ทางบวกและมิติการจัดการสภาพแวดล้อมมีคะแนนรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ในขณะที่มิติอิสระแห่งตนมีคะแนนรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ ผลการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า การไม่อดทนต่อความไม่แน่นอนมีความสัมพันธ์ทางลบกับสุขภาวะทางจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เฉพาะสุขภาวะทางจิตมิติเป้าหมายในชีวิตมีความสัมพันธ์ทางลบกับการไม่อดทนต่อความไม่แน่นอนในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลของการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อสนเทศที่สำคัญในการตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาวะทางจิตของนิสิตนักศึกษาโดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่และบนโลกแห่งความผันผวน
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.50.2.1
First Page
1
Last Page
14
Recommended Citation
ปิยะกุล, อารยา
(2022)
"การไม่อดทนต่อความไม่แน่นอน และสุขภาวะทางจิตของนิสิตนักศึกษาในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019,"
Journal of Education Studies: Vol. 50:
Iss.
2, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.50.2.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol50/iss2/2