Abstract
ทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเป็นแนวคิดที่เริ่มขึ้นในสาขาการศึกษาผู้ใหญ่และมีรากฐานเชิงทฤษฎีมาจากนักคิดสาขาสังคมศาสตร์หลายคน โดยหนึ่งในนั้น คือ เยอร์เก้น ฮาเบอร์มาส วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เพื่อสำรวจแนวคิดเรื่องโลกชีวิตและระบบของฮาเบอร์มาสที่มีความเกี่ยวข้องเชิงคำอธิบายต่อการพัฒนาทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงของแจ็ค เมอซิโรว์ โดยใช้การวิจัยเอกสารและเกณฑ์ในการควบคุมคุณภาพของแหล่งข้อมูลเป็นวิธีการหลักที่ใช้ในการจัดการกับแหล่งข้อมูลในครั้งนี้ ทั้งนี้ แหล่งข้อมูล ประกอบด้วยกลุ่มเอกสารหลักจำนวน 8 ชิ้น ได้แก่ หนังสือของฮาเบอร์มาส จำนวน 2 เรื่อง กับงานเขียนของเมอซิโรว์ จำนวน 6 เรื่อง และกลุ่มเอกสารรองอีกจำนวน 7 เรื่อง จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพพบว่า ทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดเรื่องโลกชีวิตและระบบอย่างประจักษ์ชัด โดยเฉพาะการปรากฏของแนวคิดดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของกระบวนการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ภาวะวิกฤติที่ทำให้สับสน การสะท้อนเชิงวิพากษ์ วาทกรรม และการสร้างแนวทางใหม่เพื่อการปฏิบัติ อาจกล่าวได้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงอาจช่วยรักษาส่วนประกอบของโลกชีวิตและช่วยส่งเสริมให้กระบวนการผลิตซ้ำของโลกชีวิตดำรงต่อไปได้ โดยในที่นี้ คือ การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม การบูรณาการทางสังคม และการขัดเกลาทางสังคม
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.50.1.9
First Page
1
Last Page
12
Recommended Citation
ภูหงษ์ทอง, ชนัดดา
(2022)
"โลกชีวิตและระบบของฮาเบอร์มาสในทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงของเมอซิโรว์,"
Journal of Education Studies: Vol. 50:
Iss.
1, Article 10.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.50.1.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol50/iss1/10