Abstract
ยุคสมัยปัจจุบันความเครียดกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ทั้งความเครียดจากการดำรงชีวิต และความเครียดจากการทำงาน ครูถือเป็นอาชีพที่ประสบกับความเครียดสูงในการทำงาน โดยเฉพาะ ช่วงต้นของอาชีพเช่นเดียวกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาวิชาชีพครู ซึ่งมีสาเหตุความเครียด ทั้งปัจจัยภายใน ได้แก่ 1) การขาดความแม่นยำทางทฤษฎีในการฝึกปฏิบัติการสอน 2) การบริหารจัดการ เวลา 3) การเกิดความรู้สึกทางลบ และ 4) การมีปัญหาสถานะทางการเงิน และปัจจัยภายนอก ได้แก่ 1) การมีภาระงานหนัก 2) การควบคุมชั้นเรียน 3) การอยู่ภายใต้บุคคลที่มีสถานะสูงกว่า และ (4) บรรยากาศภายในโรงเรียน โดยมีวิธีจัดการความเครียดทั้งมิติบุคคลมิติวิชาชีพมิติสังคม และมิติสถาบัน และแนวทางการสนับสนุนนักศึกษาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ปัจจัยภายใน ได้แก่ 1) การทบทวน ความรู้ด้านเนื้อหา 2) การอบรมความรู้เสริมเกี่ยวกับความเครียดในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 3) การอบรมการเสริมพลังในตนเอง และ 4) การเปิดโอกาสให้นักศึกษาวิชาชีพครูได้พบกับครูพี่เลี้ยงและ อาจารย์นิเทศก์ก่อนการเริ่มฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและปัจจัยสนับสนุนภายนอก ได้แก่ 1)การประเมิน พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียนในชั้นเรียนด้วยเครื่องมือประเมินที่มีคุณภาพ 2) การส่งเสริมให้จ่าย ค่าตอบแทนแก่นักศึกษาวิชาชีพครูตามความเหมาะสม และ 3) การเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับครูพี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศก์
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.48.4.9
First Page
147
Last Page
165
Recommended Citation
อินทาปัจ, ฐิติกาญจน์ บุญรักษา
(2020)
"กรอบมโนทัศน์ความเครียดจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในนักศึกษาวิชาชีพครู,"
Journal of Education Studies: Vol. 48:
Iss.
4, Article 9.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.48.4.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol48/iss4/9