•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของอาจารย์คณะ ศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ ตามการรับรู้ของอาจารย์ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้เชิง รุกของคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ ตัวอย่าง คือ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ จำนวน 301 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบการตอบสนองคู่ที่มีลักษณะเป็นมาตรประเมินค่า 5 ระดับ ตั้งแต่มากที่สุดถึงน้อยที่สุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าดัชนี PNImodified ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และการประเมิน ผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ผู้เรียน (M = 3.67, SD = 0.80) และ 2) ความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์/ ครุศาสตร์ พบว่า มีความต้องการจำเป็นในด้านผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผล การเรียนรู้ ตามลำดับ (PNImodified = 0.22, 0.16 และ 0.16 ตามลำดับ)

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.48.4.4

First Page

59

Last Page

75

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.