Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายตามทฤษฎีการกระทําด้วยเหตุผลเพื่อป้องกันภาวะอ้วนของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จํานวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองจากโรงเรียนวัดพระยายัง จํานวน 20 คน และกลุ่มควบคุมจากโรงเรียนวัดดวงแข จํานวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดการปฏิบัติตนในด้านการบริโภคอาหารและการออกกําลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตนของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างอย่างกันมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.48.4.21
First Page
369
Last Page
387
Recommended Citation
คงสุนทรกิจกุล, อานนท์ and สรายุทธพิทักษ์, จินตนา
(2020)
"ผลของการใช้โปรแกรมการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายตามทฤษฎีการกระทําด้วยเหตุผลเพื่อป้องกันภาวะอ้วนของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ําหนักเกิน,"
Journal of Education Studies: Vol. 48:
Iss.
4, Article 21.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.48.4.21
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol48/iss4/21