Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยด้านภาษาและการรู้หนังสือ โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ในด้านการออกแบบแผนการจัดประสบการณ์และความสามารถในการจัดประสบการณ์ 2) ศึกษาทักษะด้านภาษาของเด็กปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน และการสื่อสาร ตัวอย่าง คือ ครูปฐมวัย โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) จำนวน 3 คน และเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ในโรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) จำนวน 70 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยด้วยกระบวนการ PLC และแบบประเมินทักษะทางภาษาและการรู้หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยร่วมกับการสังเกตผลงานของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูมีสมรรถนะในการจัดประสบการณ์ภาษาและการรู้หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยในระดับมากทุกตัวบ่งชี้ โดยการออกแบบการจัดการเรียนรู้ (M = 4.00) มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงที่สุด รองลงมาคือ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (M = 3.89) และ 2) หลังเรียน ร้อยละของเด็กที่มีทักษะทางภาษาสูงขึ้น คิดเป็น 97.1 โดยการเล่าเรื่องราวที่เชื่อมโยงกับเรื่องราวอื่น มีค่าร้อยละต่ำที่สุด คิดเป็นร้อยละ 67.1
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
First Page
352
Last Page
368
Recommended Citation
ทองแกมแก้ว, อภิรัตน์ดา and รอดระหงษ์, ฉัตรชยา
(2020)
"การเสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ในการจัดประสบการณ์ ภาษาและการรู้หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสงขลา (Competence Promotion of Teacher by Professional Learning Community on Language and Literacy for Early Childhood in Schools under Sonngkhla City Munipality),"
Journal of Education Studies: Vol. 48:
Iss.
4, Article 20.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol48/iss4/20