•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยด้านภาษาและการรู้หนังสือโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ในด้านการออกแบบแผนการจัดประสบการณ์และความสามารถในการจัดประสบการณ์ 2) ศึกษาทักษะด้านภาษาของเด็กปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการฟัง พูดอ่าน เขียน และการสื่อสาร ตัวอย่าง คือ ครูปฐมวัย โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) จํานวน 3 คน และเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ในโรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) จํานวน 70 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มเครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยด้วยกระบวนการ PLC และ แบบประเมินทักษะทางภาษาและการรู้หนังสือสําหรับเด็กปฐมวัยร่วมกับการสังเกตผลงานของเด็กปฐมวัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูมีสมรรถนะในการจัดประสบการณ์ภาษาและการรู้หนังสือสําหรับเด็กปฐมวัยในระดับมากทุกตัวบ่งชี้ โดยการออกแบบการจัดการเรียนรู้ (M = 4.00) มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงที่สุด รองลงมาคือ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ (M = 3.89) และ 2) หลังเรียน ร้อยละของเด็กที่มีทักษะทางภาษาสูงขึ้น คิดเป็น 97.1 โดยการเล่าเรื่องราวที่เชื่อมโยงกับเรื่องราวอื่น มีค่าร้อยละต่ําที่สุด คิดเป็นร้อยละ 67.1

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.48.4.20

First Page

352

Last Page

368

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.