Abstract
ความสามารถด้านการมองเห็นได้เชิงมิติและเชิงวัตถุถูกใช้อย่างมากในการทํางานธรณีวิทยาภาคสนาม อย่างไรก็ตาม ในชั้นเรียนธรณีวิทยานิยมใช้ภาพถ่าย แผนภาพ และแผนที่ เป็นสื่อประกอบการสอน โดยสิ่งที่แสดงในสื่อเป็นผลจากการแปลงภาพสามมิติให้อยู่ในรูปของสองมิติ การใช้ภาพลักษณะนี้อาจไม่เป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความสามารถด้านการมองเห็นได้เชิงมิติ ทําให้ผู้ศึกษาไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับระยะ ขนาดและการเอียงเทของชั้นหินที่ได้รับก่อนออกภาคสนามกับสิ่งที่พบในพื้นที่จริงได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบและพัฒนาความสามารถเชิงมิติของนิสิตชั้นปีที่ 2 ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จํานวน 32 คน โดยการสร้างแบบจําลองหินโผล่ดิจิทัลชนิดสามมิติ บริเวณเหมืองหินปูน อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ซึ่งนิสิตจะถูกทดสอบด้วย การกะขนาดกล่องสี่เหลี่ยม จํานวน 4 กล่อง และมุมเอียงเทชั้นหินปูนที่ปรากฏอยู่ในแบบจําลองหินโผล่เปรียบเทียบกับนิสิตที่ใช้แบบทดสอบจากภาพถ่ายหินโผล่ในสถานที่เดียวกัน ผลการทดสอบ พบว่า นิสิตที่ใช้แบบจําลองหินโผล่ดิจิทัลมีความสามารถในการกะขนาดและมุมที่ได้ดีกว่า แสดงให้เห็นว่า แบบจําลองหินโผล่ดิจิทัลมีประสิทธิภาพต่อการรู้จําปริภูมิที่ถูกต้องแม่นยําของนิสิตธรณีวิทยาในห้องเรียนก่อนการสํารวจพื้นที่จริง
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.48.4.18
First Page
320
Last Page
335
Recommended Citation
จิตรมหันตกุล, สุคนธ์เมธ
(2020)
"ประสิทธิภาพของการใช้แบบจําลองหินโผล่ดิจิทัลในการสอนวิชาวิธีการศึกษาธรณีวิทยาภาคสนาม,"
Journal of Education Studies: Vol. 48:
Iss.
4, Article 18.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.48.4.18
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol48/iss4/18