Abstract
แนวคิดและเทคนิคการสอนดนตรีโลกถูกนํามาใช้ในการปฏิรูปการสอนดนตรีโดยการนํามรดกทางวัฒนธรรมดนตรีที่หลากหลายทั่วโลกสู่ห้องเรียน และมีการพิจารณาว่าจะนําความหลากหลายเหล่านั้นเข้าสู่หลักสูตรได้อย่างไรโดยที่ยังเคารพดนตรีในเขตวัฒนธรรมดั้งเดิมที่โรงเรียนตั้งอยู่การสอนดนตรีโลกเป็นการเปิดมุมมองด้านดนตรีและวัฒนธรรมที่หลากหลาย อีกทั้งยังเชื่อมโยงถึงวัฒนธรรมของมนุษย์และสังคม เนื่องจากดนตรีโลกมีการเรียนการสอนในหลายประเทศทั่วโลก ดังนั้นจึงเป็นแนวโน้มที่ควรนำมาพิจารณาในการพัฒนาครูและหลักสูตรประถมศึกษาของประเทศไทย การสอนดนตรีโลกมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อให้ความสำคัญกับเนื้อหาและวิธีการสอนดนตรีในยุคโลกไร้พรมแดน 2) เพื่อตอบสนองต่อการเรียกร้องความรับผิดชอบทางสังคม ความหลากหลายความเสมอภาคและการอยู่ร่วมกัน 3) เพื่อเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการทางวัฒนธรรมในการสืบสานและเรียนรู้ดนตรี4) เพื่อเน้นย้ำมุมมองความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมของศิลปิน ครูและผู้เรียน 5) เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการฟังที่จะนําไปสู่การมีส่วนร่วมในการแสดง การสร้างสรรค์และดนตรีที่เปรียบเสมือนพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีความหมายทางวัฒนธรรมดนตรีโลกมีขั้นตอนการสอน 5 ขั้นตอน คือการฟังอย่างใส่ใจการฟังอย่างมีส่วนร่วม การฟังเพื่อการเรียนรู้การสร้างสรรค์ดนตรีโลก และการบูรณาการดนตรีโลก
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.48.1.8
First Page
142
Last Page
163
Recommended Citation
จันทรางศุ, นันธิดา; ชานกสกุล, สุรสีห์; and สายบุญมี, สกาวรุ้ง
(2020)
"ทิศทางการสอนดนตรีโลก: นิยาม หลักการ และข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย,"
Journal of Education Studies: Vol. 48:
Iss.
1, Article 8.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.48.1.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol48/iss1/8