Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของอัตลักษณ์ศิลปหัตถกรรมภาคใต้ (2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าเรื่องอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มเยาวชนจังหวัดสงขลา อายุ 15-25 ปีเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับอัตลักษณ์และเพื่อพัฒนากิจกรรม คือ(1)แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญการจัดกิจกรรม best practice (2) แบบสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้าน (3) แบบสังเกตการจัดกิจกรรมที่มีแนวปฏิบัติที่ดีเครื่องมือวัดคุณภาพของกิจกรรม คือ (1) แบบประเมินเรื่องการเห็นคุณค่า (2) แบบสัมภาษณ์ผู้ร่วมกิจกรรม (3) แบบประเมินความพึงพอใจผู้ร่วมกิจกรรม และ (4) แบบสังเกตพฤติกรรมผู้ร่วมกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติด้วยสถิติ t-test dependent และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า1.รูปแบบของอัตลักษณ์ที่สำคัญคือ มีการใช้วัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นภาคใต้สีสันสดใส ลวดลายได้แรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติในท้องถิ่น 2. กิจกรรมศิลปะที่พัฒนาขึ้นมี 6 กิจกรรมคือ (1) เข็มกลัดจากหนังตะลุง (2) ผ้ายกกระดาษ (3) ตกแต่งหม้อสทิงหม้อ (4) สมุดสวยด้วยลายว่าวเบอร์อามัส (5) ตกแต่งแหวนด้วยวิธีการทำเครื่องถมเมืองนคร (6) ด้ามจับปากกาสานย่านลิเภา ใช้เวลา 2 ชั่วโมงต่อกิจกรรม 3.ผลจากการนำกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้พบว่า เยาวชนที่ร่วมกิจกรรมเห็นคุณค่าหลังการทำกิจกรรม (M = 1.93) สูงกว่าก่อนทำกิจกรรม (M = 41.37) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.48.1.6
First Page
103
Last Page
121
Recommended Citation
พฤกษ์อุดม, ธีติ and บุญญานันต์, โสมฉาย
(2020)
"การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน,"
Journal of Education Studies: Vol. 48:
Iss.
1, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.48.1.6
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol48/iss1/6