Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการออกแบบแบบเรียนเสริมทักษะภาษาไทย โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเชิงประสบการณ์ร่วมกับแนวคิดอัตลักษณ์เชิงพื้นที่และแม่แบบว่าด้วยการแสวงหา 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนประถมศึกษา 49 คน ครู 9 คน จากโรงเรียนชาติพันธุ์จังหวัดเชียงใหม่ และนักศึกษา 25 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม แบบประเมินคุณภาพแบบเรียน แบบทดสอบทักษะการอ่านเขียนภาษาไทยและแบบสอบถามความพึงพอใจวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการจัดกิจกรรมการออกแบบแบบเรียนประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดกิจกรรม 5 ขั้น ได้แก่ สืบประสบการณ์อัตลักษณ์ถิ่น เติมศาสตร์ศิลป์แม่แบบว่าด้วยการแสวงหา ผลิตภาษาตรึกตรอง กลั่นกรองมโนทัศน์และลงมือปฏิบัติสร้างสรรค์และ 4) การวัดและประเมินผล 2. ประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า 1) นักเรียนครูและนักศึกษาร่วมมือจัดกิจกรรมเป็นอย่างดีโดยได้แบบเรียนเสริมทักษะภาษาไทยสำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ 1 เล่ม 2) แบบเรียนมีประสิทธิภาพ 79.81/80.10 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3) นักเรียนมีทักษะการอ่านเขียนภาษาไทยสูงกว่าก่อนใช้แบบเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียน ครูและนักศึกษาพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมและต่อแบบเรียนที่ระดับมากที่สุด
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.48.1.17
First Page
311
Last Page
331
Recommended Citation
สมนาม, สิระ
(2020)
"การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการออกแบบแบบเรียนเสริมทักษะภาษาไทยโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเชิงประสบการณ์ร่วมกับแนวคิดอัตลักษณ์เชิงพื้นที่และแม่แบบว่าด้วยการแสวงหา เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเขียนภาษาไทยสำหรับผู้เรียนบนพื้นที่สูงภาคเหนือ,"
Journal of Education Studies: Vol. 48:
Iss.
1, Article 17.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.48.1.17
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol48/iss1/17