Abstract
การวิจัยเรื่องระบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของโรงเรียนอัตตโนภิวัตน์ในประเทศต่างๆ2)ถอดบทเรียนกรณีศึกษาโรงเรียนในประเทศไทยที่มีการใช้รูปแบบของโรงเรียนอัตตโนภิวัตน์ในการบริหารจัดการศึกษา และ 3) นำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาและสร้างการมีส่วนร่วม การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธีเก็บข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม และการสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบของโรงเรียนอัตตโนภิวัตน์ในการบริหารจัดการศึกษาในประเทศต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน 2) โรงเรียนในประเทศไทยที่มีการใช้รูปแบบของโรงเรียนอัตตโนภิวัตน์พบว่าแม้อยู่ภายใต้กฎระเบียบเดียวกัน แต่ในทางปฏิบัติยังมีความแตกต่างกันและยังเผชิญกับข้อจำกัดหลายประการ และ 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาและสร้างการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์หลัก 15 ยุทธศาสตร์รอง และ 49 มาตรการ ปัจจัยความสำเร็จ แบ่งเป็นปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน รูปแบบความร่วมมือในการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ของโรงเรียนอัตตโนภิวัตน์มีหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบความร่วมมือตามความพร้อมรูปแบบความร่วมมือแบบเครือข่าย รูปแบบความร่วมมือแบบยึดพื้นที่เป็นที่ตั้ง รูปแบบความร่วมมือแบบหุ้นส่วน และรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาในกำกับ
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.48.1.15
First Page
276
Last Page
294
Recommended Citation
ปรีดีดิลก, เฟื่องอรุณ; บางชวด, ดวงกมล; and รักษ์พลเมือง, ชนิตา
(2020)
"การพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาและสร้างการมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนอัตตโนภิวัฒน์,"
Journal of Education Studies: Vol. 48:
Iss.
1, Article 15.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.48.1.15
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol48/iss1/15