Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบให้คำชี้แนะคงที่ ข้อมูลย้อนกลับแบบให้คำชี้แนะลดลง และข้อมูลย้อนกลับแบบบอกผลการกระทำ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ไม่ได้รับโอกาสให้เปลี่ยนคำตอบและได้รับโอกาสให้เปลี่ยนคำตอบ และ(3)วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับและการเปลี่ยนคำตอบที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ 3×2 แฟคทอเรียลสุ่มสมบูรณ์ตัวอย่างวิจัยคือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4จำนวน 381คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์เรื่องงานและพลังงานซึ่งเป็นแบบสอบแบบเติมคำ จำนวน 2 ฉบับ ฉบับละ 10 ข้อ ทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง
ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับต่างกันมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, F(2, 375) = 8.52, p < .001, η2 = .04 อีกทั้งนักเรียนที่มีรูปแบบการเปลี่ยนคำตอบต่างกันมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, F(1, 375) = 29.64, p < .001, η2 = .07 โดยที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับและการเปลี่ยนคำตอบไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, F(2, 375) = 2.70, p = .07, η2 = .01
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.48.1.1
First Page
1
Last Page
21
Recommended Citation
หวานฉ่ำ, กิตติทัศน์ and ตังธนกานนท์, กมลวรรณ
(2020)
"ผลของประเภทข้อมูลย้อนกลับและการเปลี่ยนคำตอบที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4,"
Journal of Education Studies: Vol. 48:
Iss.
1, Article 1.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.48.1.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol48/iss1/1