Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษโดยการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง 2) ศึกษาผลของการบูรณาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษโดยการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครอง และ3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยใช้การวิจัยแบบ PAR (Participation Action Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในเขตอำเภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คนได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสำรวจบริบทของชุมชน แบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง แผนกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษจากภูมิปัญญาท้องถิ่น แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือและดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษโดยใช้แนวทางของภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยจัดเป็นฐานการเรียนรู้จำนวน 6 ฐานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ผลการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นพบว่าผู้ปกครองมีความสนใจในการนำองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทของตนในการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการบุตรหลานที่มีความต้องการพิเศษ ผู้ปกครองมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อกิจกรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพราะเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม ตลอดจนอุปกรณ์วัสดุเป็นสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.46.1.7
First Page
100
Last Page
116
Recommended Citation
สุขบุญพันธ์, ศศิพินต์
(2018)
"การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษโดยการมีส่วนร่วมจากผู้ปกครองในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่,"
Journal of Education Studies: Vol. 46:
Iss.
1, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.46.1.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol46/iss1/7