Abstract
ชุมชนสามย่าน-สวนหลวงเป็นชุมชนในท้องถิ่นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางประชากรและวัฒนธรรม ทำให้เกิดความรุ่มรวยของวิถีชีวิต เสมอมา ในชุมชนซึ่งปรากฏทั้ง ศาลเจ้า โบสถ์ วัตถุที่ทรงคุณค่า ตลอดจนวิถีชีวิตที่โดดเด่น จึงทำให้อัตลักษณ์ของชุมชนนั้นไม่อาจประเมินค่าได้ ขณะที่พื้นที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ผลประโยชน์ ของสถานศึกษา สถานะของชุมชนจึงอยู่ในสภาพเสี่ยงตลอดเวลา การศึกษาประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นจึงเป็นวิธีการหนึ่งเพื่อสร้างองศ์ความรู้ร่วมกับชุมชนในการพัฒนาให้เท่าทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นอยู่ขั้นตอนของการทำงานประวัตศาสตร์ท้องถิ่นนั้นจะต้องกำหนดกรอบ ความคิดในการทำงานให้ชัดเจน ทำการเก็บข้อมูล สุดท้ายจึงเรียบเรียง เผยแพร่ และส่งต่อให้ กับท้องถิ่นต่อไป ที่ผ่านมาโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยมเดยจัดกิจกรรม ในรายวิชาเพิ่มเติม (เลือกเสรี) ส 31211 เสน่ห์บางกอก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โดยจัดกิจกรรมในชุมชนสามแพร่ง ผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในนรายวิชาดังกล่าวทำให้ นักเรียนมีเจตดติที่ดี เห็นคุณค่าของชุมชน มีความภูมิใจและถือเป็นหน้าที่ในการอนุรักษ์ วัฒนธรรมไทย กิจกรรมข้างต้นเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยมมีความพร้อมในการจัดกิจกรรมทางการศึกษาโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ ในชุมชนสามย่าน - สวนหลวงในอนาคต
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
First Page
257
Last Page
272
Recommended Citation
วิเศษปัดสา, ปกิต
(2018)
"คิดนอกกรอบ : สามย่านศึกษา : จากประวัติศาสตร์ในห้องเรียนสู่ประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต,"
Journal of Education Studies: Vol. 46:
Iss.
1, Article 18.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol46/iss1/18