Abstract
แฟ้มสะสมงานนับเป็นเครื่องมือในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนประเภทหนึ่งที่มีความสอดคล้องกับแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาในด้านการวัดและประเมินผล ผลวิจัยที่ผ่านมา พบว่า ในช่วงทศวรรษแรกของการปฏิรูปการศึกษา ครูใช้แฟ้มสะสมงานเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตาม 5 ขั้นตอนหลักในระดับปานกลางและครูมีความต้องการจำเป็นในการใช้แฟ้มสะสมงานเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกขั้นตอน ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ครูต้องได้รับการพัฒนาเพื่อนำแฟ้มสะสมงานไปใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ในช่วงทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา การพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้แฟ้มสะสมงานเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามแนวคิดชุมชนนักปฏิบัติสามารถส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างครูซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติด้วยกัน ก่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนระหว่างครูในการใช้แฟ้มสะสมงานประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน สาระในบทความนี้มุ่งนำเสนอกลยุทธ์ การพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้แฟ้มสะสมงานเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนนักปฏิบัติ โดยนำเสนอมโนทัศน์เกี่ยวกับแนวคิดชุมชนนักปฏิบัติ หลักการ และกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้ แฟ้มสะสมงานเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามแนวคิดชุมชนนักปฏิบัติ 5 ประการ ได้แก่ ให้ความรู้และปรับเปลี่ยนมโนทัศน์-คัดเลือกแหล่งนำร่อง-ทำแคล่วคล่องต้องชี้แนะ-เสริมแรงและให้กำลังใจ-บูรณาการไปกับงานประจำ
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.46.1.10
First Page
157
Last Page
170
Recommended Citation
ตังธนกานนท์, กมลวรรณ
(2018)
"กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้แฟ้มสะสมงานเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา: การประยุกต์ใช้แนวคิดชุมชนนักปฏิบัติ,"
Journal of Education Studies: Vol. 46:
Iss.
1, Article 10.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.46.1.10
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol46/iss1/10