Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นตามแนวคิดความฉลาดทางวัฒนธรรม และแนวคิดอุปนิสัย 7 ประการของสตีเฟ่น อาร์โควี่ และ 2) ตรวจสอบยืนยันองค์ประกอบทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แรงงานต่างสัญชาติที่ทำงานร่วมกันในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยคำถามจำนวนทั้งสิ้น 25 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน และร้อยละ โดยใช้โปรแกรม SPSS for WINDOWS และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ซึ่งทำการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม M Plus ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม5องค์ประกอบ และ 25 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การเปิดใจต่อการเรียนรู้เพื่อเข้าใจความแตกต่างในการทำงานร่วมกัน 5 ตัวบ่งชี้การกำหนดเป้าหมายและการวางแผนการเรียนรู้ด้านความแตกต่างเพื่อการทำงานร่วมกัน 5 ตัวบ่งชี้ การผสานประโยชน์ร่วมกันในการทำงานด้วยการมีทัศนคติเชิงบวกต่อกัน 5 ตัวบ่งชี้ การปรับตัวเพื่อการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ 5 ตัวบ่งชี้ การพัฒนาตนเองเพื่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างยั่งยืน 5 ตัวบ่งชี้ 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม M Plus พบว่าโมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีดัชนีวัดความกลมกลืนค่าไคสแควร์สัมพัทธ์เท่ากับ 1.856 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.915ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSEA) เท่ากับ 0.076 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องในรูปความลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ0.73
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.45.4.3
First Page
37
Last Page
55
Recommended Citation
ใยลออ, ชนัญญา; โกวิทยา, มนัสวาสน์; and ปทุมเจริญวัฒนา, วีระเทพ
(2017)
"การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวคิดความฉลาดทางวัฒนธรรม และแนวคิดอุปนิสัย 7 ประการของสตีเฟ่น อาร์ โควี่,"
Journal of Education Studies: Vol. 45:
Iss.
4, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.45.4.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol45/iss4/3